สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผนึกกำลัง ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย เครือข่ายแกนนำ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูปฐมวัยในจังหวัดบุรีรัมย์ จากทุกสังกัดกระทรวง ร่วมขับเคลื่อนโครงการปลูกพลังบวก เพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัย
เกิดขึ้นจากการศึกษาสภาพปัญหาของประเทศไทย พบนักดื่มนักสูบหน้าใหม่กว่าปีละ 2.5 แสนคน ที่เป็นเด็กและเยาวชนอายุน้อย เพื่อเป็นการดำเนินงานเชิงรุกแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพดี มีทักษะชีวิต มีทักษะการคิด มีเหตุผล รู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงและสามารถแยกแยะสิ่ง ที่ดี สิ่งไม่ดี รู้จักปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะพึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 โดยมีเป้าประสงค์ให้เด็กปฐมวัย มีพลังบวก มีภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ พัฒนาสถานศึกษาต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายผลและพัฒนาภาคีเครือข่ายสู่สถานศึกษาทุกสังกัดและเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะ
ดร.วีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ วิทยากรกิตติมศักดิ์ กล่าวว่า การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาระดับพื้นฐาน ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศที่เจริญแล้วทุกประเทศ ให้ความสนใจในการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย ให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการพัฒนาเด็กให้เตรียมพร้อมสู่โลกอนาคต โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพเด็ก เพิ่มขีดความสามารถและทักษะต่าง ๆ ตลอดจนคุณลักษณะที่ดี พร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต
เด็กและเยาวชนจะต้องมีความสามารถ ในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงและท้าทาย ซึ่งต้องใช้กระบวนการคิดและ การตัดสินใจ ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคม ได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข ซึ่งในสังคมที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเด็กปฐมวัยและเยาวชนหลายด้านโดยเฉพาะเหล้า บุหรี่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยกันป้องกันอนาคตของชาติเหล่านี้ให้ปลอดภัย ไม่เข้าสู่วงจรปัจจัยเสี่ยงก่อนวัยอันควร
และเมื่อเด็กเข้าสู่การเรียนรู้ทดลอง จะสามารถมีภูมิคุ้มกัน รู้จักกลั่นกรองและมีความเข้าใจถึงโทษภัยได้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้จัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ปลูกพลังบวก สร้างจิตสำนึก สร้างภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง ให้กับเด็กปฐมวัยในความดูแลขอนตน เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ ให้คุณครู มีเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กมีทักษะชีวิต ที่เหมาะสมตามวัย และร่วมกันพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบต่อไปในอนาคต
ดร.สัมนาการณ์ บุญเรือง กล่าวว่า การดำเนินงานในครั้งนี้ ทาง ศธจ.บุรีรัมย์ “ โครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ สำหรับเด็กปฐมวัย” สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 29-30 มี.ค. 65 ที่โรงเรียนเสนสิริอนุสรณ์ อำเภอเมือง จ.บุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูปฐมวัยในจังหวัดบุรีรัมย์จากทุกสังกัดกระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 2-7 ปี เข้าอบรมเชิง ปฏิบัติการโดยการใช้ชุดกิจกรรมปลูกพลังบวกฯ ในสถาศึกษาทุกสังกัดกระทรวงและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.)ซึ่งที่คาดว่าจะได้รับ คือเด็กปฐมวัยทุกคนในสถานศึกษาทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการได้แสดงพฤติกรรมและความสามารถด้านทักษะชีวิตและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมกับวัย ในส่วนครูผู้สอนระดับปฐมวัยได้แนวทางและนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมปลูกพลังบวก เพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนในระดับผู้บริหารจัดการให้การสนับสนุนกิจกรรมปลูกพลังบวกฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและที่สำคัญผู้ปกครองและชุมชน มีความมั่นใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นพลที่ดีของสังคมต่อไป
น.ส.มาลัย มินศรี ผู้จัดการโครงการปลูกพลังบวกฯ ภายใต้ สสส. กล่าวว่า วัตถุประสงค เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ อบายมุข และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข ให้ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน จัดกิจกรรมปลูกพลังบวกฯ บูรณาการแผนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดีเนื้อหาสาระ การอบรมในครั้งนี้มีดังนี้ มีศึกษาเอกสารคู่มือพร้อมทั้งชุดพัฒนาผู้เรียนของโครงการปลูกพลังบวกฯ สร้างความเข้าใจและความตระหนักในการดำเนินงาน แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาทุกคน มีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมและได้ฝึกทดลองสอนการปลูกพลังบวกฯ เพื่อนำความรู้ที่ได้ในสองวันนี้ไปการบูรณาการกับแผนจัดกิจกรรมของสถานศึกษานำสู่ห้องเรียน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน เบื้องต้น และแนวทางในการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดกิจกรรมการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเหล้าบุหรี่ สำหรับเด็กปฐมวัยของสถานศึกษา การอบรมครั้งนี้ เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
การประชุมครั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วม คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษา ทั้ง 4 เขต ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ประธานกรรมการอาชีวศึกษาบุรีรัมย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดบุรีรัมย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ นายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ นายกเทศมนตรีตำบลอีสาน ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.)