โดยองค์กร People center for Development and Peace (PDP center) โดยการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานรวมทั้ง IOGT NTO Movement Sweden วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรม Sanctuary Residence Siem Reap กำหนดการ
กระบวนการวันแรก
พิธีเปิด โดย Johana เลขาธิการ IOGT NTO Movement
เวทีแลกเปลี่ยนประเด็น การขับเคลื่อนของเยาวชนต่อนโยบายควบคุมแอลกอฮอล์ระดับคอมมิวนิตี้ โดยผู้นำเยาวชนตัวแทนจากชุมชนเล่าว่า การนำเสนอบทบาทการเสนอให้มีการควบคุมสุราในชุมชน และการส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วม โดยมีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาข้อตกลงชุมชน (Deika) ต่อด้วย เยาวชนกับการเป็นผู้นำและการสร้างทีม ซึ่งเป็นผู้นำเยาวชนที่ได้ทำโครงการย่อยขององค์กรมานำเสนอ
จากนั้น แยกกลุ่มย่อยเป็น 4 กลุ่ม เพื่อนำเสนอแต่ละประเด็น โดยเยาวชนแต่ละชุมชน ได้แก่ กลุ่มเยาวชนกับนโยบายแอลกอฮอล์ / กลุ่มการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนา /กลุ่มเยาวชนกับสิทธิที่ดินทำกิน/กลุ่มเยาวชนผู้นำอนาคต เป็นโครงการที่ PDP รับทุนมาจากหลายหน่วยงาน โดยให้เยาวชนเป็นผู้นำอาสาสมัครในการทำกิจกรรม
ช่วงบ่ายเป็นไฮไลต์ คือ การจัด Debate ประจำปีโดยผู้แทนแต่ละจังหวัด จำนวน 4ทีม หาทีมชนะไปชิงแชมป์อีกวัน หัวข้อคือ การขึ้นภาษีสุรา เพิ่มรายได้ของรัฐ .. นับว่าเป็นโจทย์ยาก ใช้เวลาหาข้อมูลและต้องไหวพริบดีทีเดียว ดีเบตจนถึง1 ทุ่มกว่าจะได้ทีมชนะ
วันที่สอง
นำเสนอสถานการณ์นโยบายแอลกอฮอล์ประเทศไทย และเครือข่ายเยาวชน YSDN และได้เชื่อมการทำงานเครือข่ายเยาวชนต่อไป
ต่อด้วย สรุปภาพรวมโครงการของ PDP ว่ามีอะไรบ้าง ได้ผลอย่างไร ได้ Deika กี่ฉบับ ได้เยาวชนที่เป็นผลผลิตของโครงการได้รับรางวัลหรือไปร่วมงานอะไรบ้าง จากนั้นเบรคด้วยการนำเสนอโปสเตอร์ในสวนแบบง่ายๆ ฟลิบชาร์ทกับภาพประกอบ
จากนั้นมาไฮไลต์แข่งดีเบตรอบชิง ด้วยหัวข้อเดิม แต่ประเด็นภกเถียงเข้มข้นขึ้น ฝ่ายจังหวัดสวายเรียง ได้เปรียบเพราะได้นำเสนอ ฝ่ายเสียบเรียบต้องค้าน ฝ่ายนำเสนอเน้นขึ้นภาษีเพื่อลดการดื่ม เพิ่มรายได้ สังคมเป็นสุข ฝ่ายค้านเน้นมีวิธีแก้ปัญหาอื่นที่ไม่ต้องขึ้นภาษี ขึ้นภาษีราคาสูงขึ้น คนกินน้อยลง รัฐไม่ได้รายได้ จะทำอย่างไร และถ้าคนกินเหล้าหมดป่วยหมดจะเอาใครไปพัฒนาประเทศ
คำถามผู้ฟังก็ดี.. ระหว่างแก้ปัญหากับเพิ่มรายได้เอาแบบไหน ขึ้นภาษีไปคุณอาจตายได้เพราะธุรกิจเหล้าไม่ยอม (อันนี้ถามในใจเอง) ผลคะแนนสหวายเรียงชนะไป
ข้อสังเกตบางประการ
1.ข้อมูลการควบคุมสุราของไทยน้องๆ เอาไปใช้อ้างหลายครั้ง
2.มีคนสื่อสารภาษาอังกฤษได้หลายคน
3.กล้าถามกล้าแสดงความเห็น
4.ส่วนใหญ่เรียนมหาลัย บางส่วนอยู่มัธยม และแกนนำในชุมชน
5.PDP องค์กรด้านพัฒนาแกนนำเยาวชน
สถานการณ์แอลกอฮอล์ในกัมพูชา
1.กำลังรวบรวมรายชื่อเสนอกฎหมายโดยเน้นการเพิ่มภาษีให้ได้หมื่นรายชื่อ ตอนนี้ได้ 7 พัน
2.การใช้เครื่องมือ Dieka ในระดับท้องถิ่น
3.ไม่มีการควบคุมการตลาด ทำให้โฆษณา ส่งเสริมการขาย การทำตลาดได้เต็มที่
4.ราคาเบียร์สูงกว่า น้ำ น้ำอัดลม น้ำนม น้ำผลไม้ ครึ่งหนึ่ง
แนวทางต่อไป เชื่อมกิจกรรมกับเยาวชนในการร่วมงาน Camp ของไทย และ งาน Forum ของกัมพูชา
ตารางราคา เบียร์สูงกว่า ประมาณ 1 เท่า ประเทศไทยเบียร์ราคาสูงกว่าประมาณ 3 เท่า
เบียร์กระป๋อง หรือขวด 350 cc ประมาณ 0.8 USD – 1.8 USD
แป๊บซี่ โค้ก น้ำอัดลม 0.5 – 2 USD
นม น้ำผลไม้กล่อง 0.5 USD
ราคาเบียร์หานุมาน 1 กระป๋อง 2,500 เรียล ราคามะพร้าว 3,000 เรียล และมีโอกาสโชคดี ได้รางวัลใต้ฝาสูงสุด 300 USD ถามแม่ค้าว่า ทำไมมะพร้าวไม่มีรางวัลใต้ฝาบ้าง ราคาก็แพงกว่า…ฮาเลย
เน้นแจกรถ
ประเพณี Ombok ประเพณีทำบุญแม่น้ำ มีงานแข่งเรือในแม่น้ำเสียบเรียบ โดยมีสปอนเซอร์ใหญ่ 2 เจ้า
ยี่ห้อครุฑ กับวัฒนะ สนับสนุนงานชกมวย
ส่วนยี่ห้อ Ganz Berg สนับสนุนคอนเสริต์
ประเพณี Ombok ตรงกับงานลอยกระทง บ้านเรา แต่ของเขากิจกรรมแข่งเรือ จัดในพนมเปญ เสียมเรียบ พระตะบอง