เครือข่ายชาวบ้านและประชาสังคมชุมพร ระดมความเห็นเสนอ 6 ข้อกังวล 6 ข้อ เสนอกับกรรมาธิการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วันที่ 18 มิถุนายน 2567  เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีและการแปรรูปตำบลวังไผ่ ร่วมกับ ภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพรและสื่อมวลชน ร่วมประชุมหารือถึงข้อห่วงใยต่อการแก้ไข พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่จะมีผลกระทบต่อเด็ก-เยาวชนประชาชนมากขึ้น ดังนี้

  1. ต้องไม่ทำให้ปัญหาผลกระทบ จำนวนนักดื่มเพิ่ม และเยาวชนหน้าใหม่ ซึ่งจะไปสร้างปัญหาสังคมและสุขภาพ
  2. ต้องทลายทุนผูกขาด ไม่เอื้อประโยชน์ทุนรายใหญ่ โดยอ้างรายย่อย เพราะเป็นเสมือนการเปิดทางรายใหญ่ที่ย่อยผูกขาดยิ่งขึ้นไปอีก
  3. ต้องให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบความเสียหายอันตราย โดยเฉพาะมาตรา 33 นอกจากจะดูแลผู้คิดสุราแล้ว ให้เพิ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ธุรกิจจะต้องมารับผิดชอบด้วย
  4. เสนอการกระจายอำนาจให้คณะกรรมการควบคุมจังหวัด และท้องถิ่นในการพิจารณาการจัดการการอนุญาตหรือไม่อนุญาต และแก้ปัญหาผลกระทบและเอาผิดผู้ประกอบการ รวมทั้งงบประมาณดำเนินการที่เพียงพอ
  5. เสนอให้ลดโทษทางปกครองเป็นปรับเป็นพินัยจากเดิมเป็นโทษทางอาญา สำหรับความผิดของประชาชนในสถานที่ดื่มต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อประขาชน แต่ต้องเข้มงวดกับผู้ประกอบการรายใหญ่
  6. เครือข่ายไม่ยอมรับการผ่อนปรนมาตรการ เช่น การขยายเวลาขาย  หรือ การโฆษณาที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการโดยไม่มีความรับผิดชอบใด ๆ ตามที่มีการประชุมข้อเสนอจากฝั่งผู้ประกอบการ

โดยนางปราณี ภูมิรินทร์  ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีและการแปรรูปตำบลวังไผ่ และ ประธาน อสม.ระดับจังหวัด กล่าวว่า การจัดเวทีครั้งนี้เป็นการประสานความร่วมมือกับภาคประชาสังคมด้านสุขภาพและกลุ่มผู้หญิงในจังหวัดชุมพร ที่มีข้อกังวลต่อการปรับแก้ พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะมีความเสรีและจะส่งผลกระทบต่อเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งทราบว่าขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการจึงร่วมกันระดมข้อเสนอและส่งต่อถึงประธานกรรมาธิการฯในรูปแบบจดหมาย ดังนี้

  1. ขอให้กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. …. พิจารณาดำเนินการให้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างครอบคลุมรอบด้าน สร้างการมีส่วนร่วมที่สมดุลมากกว่าการเปิดพื้นที่รับฟังจากกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  
  2. ขอให้กรรมาธิการ ปรับปรุงแก้ไขร่าง พรบ. โดยยึดหลักการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น  สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  
    ท้องถิ่นควรมีสิทธิในการออกมาตรการ  การป้องกันแก้ไขปัญหา  บัดฟื้นฟู  รวมไปถึงการออกแบบงานเทศกาล (Festival) ที่จัดขึ้นในพื้นที่ชุมชน (Soft Power)
  3. ขอให้กรรมาธิการพิจารณาไม่ให้ผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  เข้ามาเป็นกรรมการในทุกระดับ
  4. กรรมาธิการควรเพิ่มโทษกรณีที่มีการขายให้กับเด็ก เยาวชน  การขายให้คนเมาครองสติไม่ได้  รวมถึงขยายความรับผิดของผู้ประกอบการที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น
  5. กรรมาธิการควรพิจารณาให้มีกองทุนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีที่มาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. กรรมาธิการควรเพิ่มข้อเสนอเนื้อหาที่บรรจุภัณฑ์ด้าน ปริมาณการดื่มที่มีผลกระทบต่อการเกิดอันตรายร่างกายและสังคม

ดังนั้น ทางเครือข่ายฯ ขอเสนอแนะให้ทบทวนการพิจารณาดังกล่าว เพราะหากแก้ไขแล้วอาจส่งผลกระทบและเกิดปัญหาทางสังคม ที่สำคัญไม่ควรเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ ควรคุ้มครองและปกป้องเด็กเยาวชน เพิ่มความรับผิดชอบต่อผู้ขาย ไม่เพิ่มปัญหา ไม่เพิ่มคนดื่ม และผู้ได้รับผลกระทบต้องได้รับการเยียวยา นางปราณี กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน
Facebook : เครือข่ายงดเหล้า 

Sunset.