กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการพัฒนาเด็กให้เตรียมพร้อมสู่โลกอนาคตได้อย่างมีคุณภาพและมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพเด็กด้านความสามารถและทักษะตลอดจนคุณลักษณะที่จะช่วยสร้างให้เด็กมีคุณภาพตามเป้าหมายหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 พร้อมทั้งให้มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข
การประชุมนิเทศออนไซต์โครงการปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 29 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียนอนุบาลเมืองชุมพร วัดสุบรรณนิมิตร จ.ชุมพร
ดร.ศักดิ์สิทธิ์ แร่ทอง ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาระดับพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ประเทศที่เจริญแล้วทุกประเทศให้ความสนใจในการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เป็นประชากรที่มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
การจัดทำโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ อีกทั้งเป็นการพัฒนาครูปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการปลูกพลังบวกฯ และในวันนี้สถานศึกษาที่ได้ดำเนินงานตามโครงการปลูกพลังบวกฯ ได้มีการประเมินตนเองของสถานศึกษาเครือข่ายเพื่อรับรองเป็นสถานศึกษาต้นแบบหรือต้นแบบแหล่งเรียนรู้ จะได้รับประโยชน์จากการนิเทศ ติดตาม การให้คำปรึกษา แนะนำ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษาด้วยกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยโดยรวม
นายอารมณ์ วงษ์บัณฑิต ข้าราชการบำนาญ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ นักวิชาการโครงการฯ ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยครูปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการปลูกพลังบวกฯ ในจังหวัดชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 59 แห่ง การประชุมออนไซต์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการปลูกพลังบวกฯ ได้นำเสนอรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาเครือข่ายเพื่อรับรองเป็นสถานศึกษาต้นแบบหรือสถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ และเป็นการเสนอแนะให้คำปรึกษาของผู้นิเทศในการดำเนินงานโครงการปลูกพลังบวกฯ พร้อมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โครงการปลูกพลังบวกฯ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 จึงทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ในการประชุมนิเทศออนไซต์จึงได้จัดกิจกรรมนิเทศให้สอดคล้องโดยแบ่งผู้เข้าประชุมนิเทศออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คนต่อวัน ใช้เวลา 3 วัน ในการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งหน่วยงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1,2 พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชุมพร ที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานกิจกรรมครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง