11 มกราคม 2565 คณะทำงานจังหวัดศรีสะเกษ ของโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัย เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อรายงานผลการดำเนินงานและเสนอการแต่งตั้งคณะทำงานและลงนามในคำสั่งพร้อมทั้งหารือเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานปฐมวัย ณ ห้องประชุมเล็ก ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ
ผศ.นิตยา แข่งขัน จากสาธิตราชภัฎมหาวิทยาลัยศรีสะเกษ กล่าวรายงานว่า ทางโครงการปลูกพลังบวก ฯ ทำงาน 4 หลักบูรณาการกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ด้วยการพัฒนาคุณภาพเด็ก จัดประสบการณ์ปลูกพลังบวกให้กับครูและบุคลากรที่สอน ให้ความสำคัญกัฐสถานศึกษาโดยให้ผู้บริหารวางแผนการดำเนินงานต่อเนื่องและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน
นายสำรวย เกษกุล ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ศรีสะเกษ กล่าวว่า ยินดีที่จะลงนามในคำสั่งของโครงการปลูกพลังบวกฯ ส่วนการขับเคลื่อนงานปฐมวัยนั้นทางจังหวัดได้อนุมัติงบสนับสนุนไปยัง งานพัฒนานวตกรรมการศึกษา เป็นหลัก และร่วมสนับสนุนการแก้ปัญหาการลดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับ สสส.ในสำนัก 6 ซึ่งเป็น Flagship ของจังหวัด ส่วนการดำเนินงานของดครงการปลูกพลังบวกฯ อยากให้มีการเสนอโครงการเข้ามาพร้อมคำสั่งแต่งตั้งพร้อมสรุปเนื้อหามาพร้อม การดำเนินการด้านการสร้างสุขภาวะของเด็กอยากจะให้การพัฒนาที่หลากหลาย ดึงผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้วยจะดียิ่ง การบังคับใช้กฎหมายก็ควรมี ชอบดครงการนี้ท่ต้องการปลูกจิตใต้สำนึกเด็ก ด้วยความน่ารักของเด็กเมื่อไปสื่สารกับผู้ปกครองก็จะได้ผลดี
ก่อนการเข้าพบผู้ว่าราชการจากการดำเนินโครงการปลูกพลังบวกฯ ของจังหวัดศรีสะ นายจันทร์ โต๊ะสิงห์ ประธานคณะทำงาน จ.ศรีสะเกษและผศ.นิตยา แข่งขัน คณะทำงานและเลขานุการ คณะทำงานจากสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ และคณะทำงานจาก สสส.ได้จัดประชุมคณะทำงานจากเขตพื้นที่การศึกษา(สพป.ศรีสะเกษ)ทั้ง 4 ร่วมกันวางแผน การลงนิเทศ กำกับ ติดตามสร้างขวัญและกําลังใจ สถานศึกษที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง 41 สถานศึกษา ได้แบ่งเป็น 8 สาย ให้กําหนดการนิเทศติดตาม ในเทอม 1 ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม 2566ของ รุ่นที่ 1 และ 2 เป็นการนิเทศแบบฝาก
โดยจะให้คณะทำงานส่วนกลางลงเฉพาะโรงเรียนที่ต้องการ ยกระดับเป็นสถานศึกษาต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ทั้งนี้เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจให้กับ ศน.ที่ออก นิเทศ ในปีนี้จะมีการออกเกียรติบัตรให้ศน. เพื่อสร้างขวัญและกําลังใจให้กับคณะทำงาน การขยายการอบรมเพื่อขยายสถานศึกษาเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ ทางคณะกรรมการเห็นว่าจังหวัดจะมีการขยายสถานศึกษาเพิ่มเติมอีก จำนวน 80 ห้องเรียน การคัดเลือกสถานศึกษาในการทำพื้นที่สร้างสรรค์ จำนวน 15 แห่ง คาดว่าจะเริ่ม กิจกรรมประมาณเดือนมิถุนายน 2566 นอกจากนี้ควรมีเวที สรุปบทเรียน และจัดกิจกรรม Show and share ในระดับจังหวัดขึ้น การประชุมครั้งนี้มีศึกษานิเทศก์จากเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั้ง 4 เขตและผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษเข้าร่วมประชุมด้วย