จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 54 สถานศึกษา การดำเนินงานที่ผ่านมาได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อนิเทศ ติดตาม เสริมหนุน ให้ครูสามารถนำชุดกิจกรรมปลูกพลังบวก ทรอดแทรกบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิต ด้านการเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น สามารถวิเคราะห์แยกแยะ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นได้
นายภานุวัฒน์ มากวงษ์ รองศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานการประชุมกล่าวว่า จังหวัดได้รับคัดเลือกให้ดำเนินงานสถานศึกษาต้นแบบของประเทศ โดยเน้นเรื่อง พัฒนาศักยภาพครู Active Learning จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมสร้าง จัดประสบการณ์ทางจิตวิทยาศาสตร์ โดยประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในปี 2567 เน้น 1) การจัดการศึกษาเพื่อความ ปลอดภัย 2) ยกระดับคุณภาพการศึกษา3) การสร้างโอกาศความเสมอภาคทุกช่วงวัย 4) พัฒนาทักษะ อาชีพ 5) วิชาชีพครู 6) พัฒนาระบบราชการการและการบริการ 7) ขับเคลื่อนกฎหมายและแผนการศึกษาแห่งชาติ ในการขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ขับเคลื่อนหลายด้านด้วยกัน มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะในการสื่อสารสู่เด็กพร้อมๆ กับการมีทักษะการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนด้วย
นางนิรมล แสงจันทสิทธิ์ครูเชี่ยวชาญ รร.อนุบาลลําปลายมาศ – เป็นโครงการที่ดีมาก สื่อที่ใช้กับ เด็กโดยเฉพาะสื่อด้วยเพลง ทุกบทบาทได้ใช้จริงและเกิดการเรียนรู้นําไปสู่การปฏิบัติจริง มีการขยายผล นําสู่ผู้ปกครองได้รับการตอบรับที่ดีมาก โดยเด็กไปบอกผู้ปกครอง “จะดีมาก ถ้าพ่อลดเหลือ 2 กระป๋ อง แล้วค่อยลดเหลือ 1 กระป๋อง แต่พ่อไปขอแม่เพิ่ม ลูกก็ไม่ยอม ทวงสัญญา” เชื่อว่าโครงการนี้สามารถผนวก เข้ากับการที่โรงเรียนปลูกจิตสํานึกของความดี ค่อยๆเติมเต็ม เป็นโครงการที่เข้ากับเด็กปลูกสร้างความดี และคุณธรรมให้กับเด็ก ยายเซไปเซมา หนูก็บอกกับยายว่า “ทานเหล้าไม่ดี” นอกเหนือจากนี้ยังสามารถ บูรณาการเข้ากับโครงการเด็กปฐมวัยหัวใจธรรมะ ที่นําศีล 5 มาใช้ โดยในทุกวันศุกร์จะให้เด็กใส่ชุดขาว เด็กจะไปสานต่อบอก คุณพ่อห้ามดื่มสุราเมรัย ประทับใจโครงการและอยากให้ปูให้ทั่วไปถึงระดับประถาม วัย ส่วนตนมองว่าไม่อยากให้แต่ละเขตพื้นที่มองโครงการปลูกพลังบวกเป็นเรื่องของการแข่งขัน เพราะ บริบทแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องของการที่คุณครูได้ปลูกฝังลงกับเด็กมากกว่า อยาก ให้โครงการนี้ปูพรมทั่วทั้งจังหวัด
การวางแผนการดำเนินงานประชุมคณะทำงานวางแผนขับเคลื่อนโครงการปลูกพลังบวกฯ ระดับจังหวัด ประเด็นดังนี้ 1. ประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการปลูกพลังบวกฯระดับจังหวัด/อำเภอ 2. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการปลูกพลังบวกฯ ระดับหวัด/อำเภอโดยเชิญผู้แทนจาก สำนักงานพัฒนาสังคม 3. นิเทศกำกับติดตามสร้างขวัญและกำลังใจ 54 สถานศึกษา 4. อบรมขยายเพื่อขยายสถานศึกษาเครือข่ายระดับจังหวัด/อำเภอโดยให้แต่ละเขตการศึกษาส่งสถานศึกษาเข้ามาเขตละ 10 สถานศึกษา รวมประมาณ 50 สถานศึกษา 5. การพัฒนาและสร้างความยั่งยืนเพื่อยกระดับสถานศึกษาต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ 6. คัดเลือกสถานศึกษาในการทำพื้นที่สร้างสรรค์ 7. เวทีสรุปผลถอดบทเรียน และ กิจกรรม Show & Share ระดับจังหวัด/อำเภอ มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก สพป.ทั้ง 4 เขตและผู้แทนจากสถานศึกษาแต่ละเขตร่วมด้วย ประชุม วันที่ 10 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์