เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อเราเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว เราก็ย่อมได้รับความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่จะเข้ามามีผลต่อสุขภาพของเรา… อาจจะกล่าวได้ว่าความเสี่ยงจะไม่ส่งผลให้โรคเหล่านั้นแสดงอาการให้เห็นทันทีทันควัน แต่มันจะสะสม และพร้อมที่จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวแน่นอน… และอย่างไรก็ตาม “ตับ” ไม่ใช่อวัยวะเดียวที่ได้รับความเสียหายจากการดื่มเหมือนอย่างที่เราทราบกันโดยทั่วไป แต่ “สมอง” ของเราก็อาจเกิดความเสียหายตามมาด้วย และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้อีกเช่นกัน… .การศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในรายงานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดพบว่า
การดื่มของนักดื่มในระดับปานกลางนั้นมีความสัมพันธ์กับการลดจำนวนเนื้อเยื่อสมอง โดยนักวิจัยได้ศึกษานักดื่มจำนวน 300 คนที่มีอายุระหว่าง 39 ถึง 45 ปี เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของการดื่มต่อสมอง จากการศึกษารายงานพบว่า คนส่วนใหญ่จะดื่มในระดับที่ถือว่ามีความเสี่ยงระดับปานกลาง หรือต่ำ หรือเฉลี่ยน้อยกว่า 14 หน่วยของแอลกอฮอล์ต่อสัปดาห์ ถึงจะดื่มในระดับดังกล่าว มันก็ส่งผลให้เกิดการลดจำนวนเนื้อเยื่อสมองที่จะแสดงให้เห็นเมื่อมีการสแกน สมองของนักดื่มจะถูกเปรียบเทียบกับแบบจำลองอ้างอิงตามปริมาตรสมองโดยเฉลี่ย… การสูญเสียเนื้อเยื่อสมองนั้นจะลดความสามารถของสมองในการทำงานในระดับที่เหมาะสม แม้ว่าสมองของผู้ใหญ่จะหดตัวลงอย่างช้าๆ ตามอายุก็ตาม แต่หากเพิ่มการสูญเสียที่เร็วขึ้นแล้ว การหดตัวของสมองก็มีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นจากสภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคน หรือช่วงบั้นปลายชีวิต….แอลกอฮอล์นั้นมีศักยภาพในการทำลายสมองของเราในระดับที่น่าแปลกใจมาก ตัวอย่างเช่น คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ หรือคนอายุระหว่าง 55 ถึง 74 ปี พบว่ามีแนวโน้มเกิดความเสี่ยงของโรค และอันตรายจากแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่ากลุ่มอายุน้อยกว่าอีกด้วย… การลดปริมาณการดื่ม หรือการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น แน่นอนว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อการถูกทำลายของสมองที่กล่าวมาได้ แต่หากปรับวิถีการทานอาหาร ให้เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย นอกจากความเสี่ยงของโรคจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะไม่ย่างกรายเข้ามากระทบสุขภาพของเราอย่างแน่นอน .#เมื่อสุรามีผลต่อสมองของนักดื่ม#GenX#BabyBoomer#เรื่องเหล้ารอบโลก#สุรา#เครื่องดื่มแอลกอฮอล์.อ้างอิงแหล่งที่มา (Reference):https://theconversation.com/alcohol-and-your-brain-study…