จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติประเด็นความชุกของจำนวนนักดื่ม ในปี 2561 พบว่า ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนมีอัตราการดื่มสูงสุดของประเทศในอันดับ 1-5 เป็นพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 4 จังหวัด ได้แก่
ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่น่านำมาพิจารณา คือ จำนวนโรงกลั่นสุราชุมชน ทำให้การซื้อขายที่ง่ายสะดวก รวมทั้ง ราคาถูก อีกทั้ง อาจจะมีการลักลอบผลิตและขายโดยไม่ผ่านการเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ซึ่งทำโดยง่ายเช่นเดียวกัน หากนับจำนวนโรงกลั่นสุราในเขตภาคเหนือตอนบน จะเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของโรงกลั่นสุราชุมชนทั้งประเทศ โดยข้อมูลจากกรมสรรพสามิต ปี 2556 ในเขตภาคเหนือตอนบน มีจำนวน 2,320 โรง
ในปี 2557 ประชาคมงดเหล้าจังหวัด สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) โดยการสนับสนุนจาก สสส. และ สส.อรุณี ชำนาญยา สส.จังหวัด พรรคเพื่อไทยในขณะนั้น ได้ขับเคลื่อนให้เกิดแผนงานยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้น 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดพะเยา,จังหวัดเชียงราย,จังหวัดแพร่, จังหวัดเชียงใหม่,จังหวัดลำปาง,และจังหวัดน่าน จากการระดมพลังความร่วมมือภาครัฐ ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรประชาชน ภาคศาสนา อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง มีนโยบายอย่างจริงจังของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญ คือ การดำเนินการเฝ้าระวังการบังคับใช้กฎหมายกับโณงกลั่นสุราชุมชนของเจ้าหน้าที่ปกครอง สรรพสามิต สาธารณสุข ตำรวจ ทำให้จำนวนโรงกลั่นสุราในปี 2561 ลดลงเหลือ 1,068 โรง (ได้แก่ เชียงใหม่ 210 โรง, เชียงราย 173 โรง,น่าน116 โรง, พะเยา178 โรง, แพร่ 133 โรง,แม่ฮ่องสอน40 โรง, ลำปาง191 โรง, ลำพูน 27 โรง) ในรอบ 6 ปี โรงกลั่นสุราชุมชนลดลงมากถึง 1,252 โรง คิดเป็นร้อย 54 และ ข้อมูลจากรายงานสรุปผลการจัดเก็บรายได้ภาษีสุราในกลุ่มสุราพื้นบ้าน ในปี 2556 สามารถจัดเก็บรายได้ 672,700,062.99 บาท ซึ่งเป็นรายได้สามในสี่ส่วนของรายได้ของประเทศ และในปี2561 รายได้การจัดเก็บรายได้ภาษี สุรา สามารถจัดเก็บรายได้ 653,896,825.97บาท ลดลงเล็กน้อย
แม้ว่า รายได้จากภาษีเป็นรายได้ของรัฐจากการส่งเสริมการผลิตโรงกลั่นสุราชุมชนจะสูง แต่เหตุปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ย่อมส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้ง คุณภาพของพลเมืองโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน การที่หน่วยงานต่างๆ ช่วยกันทำให้จำนวนโรงกลั่นสุราลดจำนวนลง เนื่องจากการทำผิดกฎหมายต่างๆ เป็นปัจจัยร่วมหนึ่งที่ทำให้สถิติจำนวนนักดื่มในแต่ละจังหวัดลดลง เช่น จังหวัด เชียงราย ปี 2554 จำนวนความชุกนักดื่ม ร้อยละ 49.3 แต่ผลสำรวจปี 2561 ลดลงเหลือ ร้อยละ 45.3 แต่ในภาพรวมแล้วปัญหาความชุกของนักดื่มยังสูงเมื่อเทียบกับจังหวัดต่างๆ อยู่
ดังนั้น ยังคงต้องพิจารณาว่า ยังมีเหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นปัจจัยร่วมทำให้เกิดสภาพการณ์ดังกล่าว ซึ่งภาคีความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และประชาชน ต้องหาโอกาสประสานข้อมูลและร่วมกันวิเคราะหข้อมูลปัจจัยร่วมอื่นๆ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันลดผลกระทบต่อสุขภาพและสังคมของประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบนต่อไป
กรอบเนื้องานจุดเน้นการทำงานของประชาคมงดเหล้าในพื้นที่จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ปี 2562-2564
กรอบนี้ กำหนดจากฐานทุนทางสังคมของพื้นที่จังหวัดในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นจุดที่การทำงานได้ผล และจะจุดประกายไปสู่การแก้ปัญหาในจุดอื่นๆ ต่อไป..
1. พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่มีความเสี่ยงสูง เชียงราย ลำพูน พะเยา จังหวัดแพร่ เน้นขับเคลื่อนเชิงระบบ เป็นปัญหาร่วมของพื้นที่ ให้เกิดแผนงานยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์
2.เชียงใหม่ พื้นที่เป้าหมายธุรกิจแอลกอฮอล์ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน สนับสนุนกลไกลการเฝ้าระวังฯ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกระบวนการผลักดันนโยบายสาธารณะปลอดเหล้า-เบียร์ เช่น งานประเพณีเดือนยี่เป็ง,งานประเพณีปีใหม่เมือง เป็นต้น
3.พื้นที่การขับเคลื่อนเชิงวัฒนธรรม ประเพณี ปลอดเหล้า-เบียร์ คือ น่าน แม่ฮ่องสอน เน้นกระบวนการนโยบายสาธารณให้ชุมชนมาเป็นเจ้าของวัฒนธรรมบนพื้นฐานสิทธิทางวัฒนธรรม
จ.น่าน – งานแข่งเรือน่าน,ลอยกระทงปลอดเหล้าเบียร์ เบื่อประทัด ,กาชาดปลอดเหล้า,สงกรานต์ถนนข้านแต๋นสุขใจไร้แอลกอฮอล์,สวดมนต์ข้ามปีวิถีพุทธ ,งานบุญประเพณีปลอดหล้า งานศพปลอดเหล้า เป็นต้น
จ.แม่ฮ่องสอน – งานปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)ปลอดเหล้าระดับจังหวัด,ลอยกระทงปลอดเหล้าเบียร์ เบื่อประทัด ,กาชาดปลอดเหล้า,สงกรานต์ถนนข้านแต๋นสุขใจไร้แอลกอฮอล์,สวดมนต์ข้ามปีวิถีพุทธ ,งานบุญประเพณีปลอดหล้า งานศพปลอดเหล้า เป็นต้น
4. พื้นที่ชุมชนเข้มแข็ง ใช้ต้นทุนของชุมชนในการขยายผลจากล่างสู่บน คือ จังหวัดลำปาง เน้นการพัฒนากลไกคณะทำงานจังหวัดและระดับพื้นที่ สนับสนุนชุมชนคนสู้เหล้า เพิ่มศักยภาพชมรมคนหัวใจเพชร ด้วยสวัสดิการคนเลิกเหล้า ขยายพื้นที่งานบุญประเพณีปลอดเหล้าทั้ง 13 อำเภอ