โดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
กรอบแนวคิดและแนวทางการดำเนินงาน :ชุมชนคนสู้เหล้า
จากการถอดบทเรียนผลดำเนินงานของเครือข่ายงดเหล้าทั่วประเทศ ที่ผ่านมาในปี 2560-2561 พบว่า ในชุมชนมีบุคคลที่ดื่มแอลกอฮอล์จำแนกตามเกณฑ์ของกรมสุขภาพจิตได้ 3 ลักษณะคือ ผู้ดื่มเข้าสังคม ผู้ดื่มประจำ และผู้ติดสุรา ซึ่งการรณรงค์ปรับค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์สำหรับผู้ดื่มทั้ง 3 ลักษณะ โดยชุมชนดำเนินการจะมี 2ขั้นตอน ได้แก่ กระบวนการจัดสภาพแวดล้อมระดับครัวเรือน หมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ ควบคู่ไปกับกระบวนการชวน ช่วย เชียร์ และเชิดชูอย่างน้อย 3 ปี เพื่อเป็นการติดตามหนุนเสริมผู้เข้าร่วมโครงการจากวันที่หยุดดื่มสู่การเลิกเหล้าตลอดชีวิต จากชุมชนขั้น A ไปสู่ชุมชน ขั้น B คือชุมชนคนสู้เหล้า ทั้งนี้เมื่อชุมชน

ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะพัฒนาไปสู่ชุมชนปลอดเหล้าในระดับ C ต่อไป
ในแผนงานฯ จะทำหน้าที่พัฒนาชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 430 แห่งทั่วประเทศ ให้มีระบบช่วยชมเชียร์ลด ละ เลิก และการจัดสภาพแวดล้อมโดยชุมชน และจะพัฒนาต่อให้เป็นชุมชนแหล่งเรียนรู้ จำนวน 100 แห่งใน 3 ปี เพื่อเป็นฐานการทำงานขยายผลในเชิงนโยบาย และการขยายผลในเชิงการเรียนรู้แลกเปลี่ยนจากชุมชนต่างๆ ภายใต้ 6 กลยุทธ์

กระบวนการพัฒนาชุมชนคนสู้เหล้า
1. กระบวนการจัดสภาพแวดล้อมระดับชุมชนหมู่บ้านที่เอื้อต่อการลดละเลิกของผู้ดื่ม ซึ่งมี 2 ระดับ
1.1 ภายในชุมชน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการ ซื้อ การดื่ม ของผู้ดื่ม และการขายการจัดเลี้ยงภายในชุมชน ได้แก่
(1) มีมาตรการชุมชน และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเอื้อต่อการไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ดื่ม ไม่เลี้ยงแอลกอฮอล์ในชุมชน
(2) มีการรณรงค์กับร้านค้าให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ขายในช่วงโอกาสสำคัญๆหรือเป็นร้านค้าปลอดเหล้า
(3) มีกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน ครอบครัว ชุมชน เพื่อส่งเสริมการลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกำลังใจแก่ผู้บวชใจตลอดทั้งปี
(4) มีการรณรงค์เพื่อสื่อสารสร้างกระแสให้เกิดการรับรู้เรื่องการลด ละ เลิกบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ตลอดทั้งปี
1.2 ภายนอกชุมชน ได้แก่ องค์กรต่างๆระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด กระทรวง ที่ทำหน้าที่สนับสนุนทั้งนโยบาย แผน งบประมาณ การรณรงค์สร้างกระแส ให้ชุมชนดำเนินการจัดสภาพแวดล้อม ซึ่งในการถอดบทเรียนที่ผ่านมา พบว่า นโยบายระดับอำเภอเหมาะสมกับการสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมของชุมชน
2. แนวทางการพัฒนาชุมชนคนสู้เหล้า
2.1 ชุมชนคนสู้เหล้า มีแนวทางพัฒนา 4 ด้าน ซึ่งชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนาให้สามารถดำเนินการได้ 4 เรื่องหลัก คือ
(1) มีการเก็บข้อมูล และการคืนข้อมูลในชุมชน เพื่อติดตามหนุนเสริมผู้บวชใจจนครบ 3ปี และใช้ข้อมูลเพื่อทำงานกับกลไกนโยบายระดับตำบล อำเภอและจังหวัด เพื่อเอื้อต่องานชุมชนคนสู้เหล้า ข้อมูลที่เก็บประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของชุมชน สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการรณรงค์งดเหล้า ร้านค้าที่จำหน่ายแอลกอฮอล์ กลุ่มดื่ม จุดเสี่ยง การแก้ไขปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์เป็นต้น(ตามแบบฟอร์มที่1)
กลุ่มดื่มที่เก็บข้อมูลเพื่อติดตามหนุนเสริม 3 ปี
- ผู้ดื่มเข้าสังคม, ผู้ดื่มประจำ(อย่างน้อยสัปดาห์ละ1ครั้ง) และดื่มหนัก(ดื่มเกือบทุกวันและเลิกไม่ได้ด้วยตนเอง)
- ผู้ดื่มในชุมชนมาร่วมปฎิญาณตนงดเหล้
- ผู้บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษาอยู่จนครบพรรษา
- ผู้ปฎิญาณตนงดเหล้าตลอดชีวิต
(2) มีกระบวนการชวน ช่วย ชมเชียร์และเชิดชูเกียรติ ให้ผู้บวชใจงดเหล้าได้ลด ละ เลิกการดื่ม เหล้า-เบียร์ อย่างต่อเนื่องจนสามารถเลิกเหล้าได้ตลอดชีวิต (อย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป)
(3) มีกระบวนการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์
- มีมาตรการชุมชน และการบังคับใช้กฏหมายเพื่อเอื้อต่อการไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ดื่ม ไม่เลี้ยงแอลกอฮอล์ในชุมชน
- มีการรณรงค์กับร้านค้าให้ปฏิบัติตามกฏหมายหรือไม่ขายในช่วงโอกาสสำคัญๆหรือเป็นร้านค้าปลอดเหล้า
- มีกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน ครอบครัว ชุมชน เพื่อส่งเสริมการลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกำลังใจแก่ผู้บวชใจตลอดทั้งปี
- มีการรณรงค์เพื่อสื่อสารสร้างกระแสให้เกิดการรับรู้เรื่องการลด ละ เลิกบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดทั้งปี
(4) มีผู้นำคนหัวใจเพชรร่วมเป็นอาสาสมัครชวน ช่วยเชียร์ ให้คนลด ละ เลิกเหล้า ร่วมกับชุมชนฯ
3. กระบวนการชวน ช่วย เชียร์และเชิดชูเกียรติ
เพื่อให้ผู้บวชใจงดเหล้าได้ลด ละ เลิกการดื่มเหล้า-เบียร์ อย่างต่อเนื่องจนสามารถเลิกเหล้าได้ตลอดชีวิตอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ซึ่งพบว่าบุคลากรคนสำคัญที่ดำเนินการในกระบวนการนี้ ได้แก่ อสม. แกนนำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รพ.สต. พระ ครู) และคนในครอบครัวแล้ว คนหัวใจเพชรที่อยู่ในชมรมระดับหมู่บ้าน ยังเป็น เป็นบุคลากรสำคัญในการเป็นพี่เลี้ยง เป็นเพื่อน ที่เข้าใจและเข้าถึงการลด ละ เลิก รายบุคคล โดยสามารถตำแนกกลุ่มผู้ลด ละ เลิก เป็น 3 ระดับ ตามระยะเวลาของการชวนช่วยเชียร์ ให้งดเหล้า คือ ระดับผู้บวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา คือ บุคคลที่เคยดื่มมาก่อนและร่วมโครงการงดเหล้าต่อเนื่อง 3 เดือนเข้าพรรษา
3.1 ระดับระดับผู้บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษา
ระดับคนหัวใจหิน คือ บุคคลที่สามารถงดเหล้าได้ครบ 3 เดือน
ระดับคนหัวใจเหล็ก คือ บุคคลที่งดเหล้าต่อเนื่อง แต่ยังไม่ถึง 3 ปี
ระดับคนหัวใจเพชร คือ บุคคลที่งดเหล้าครบ3ปีและตั้งใจงดดื่มตลอดชีวิต
3.2 กระบวนการชวน ช่วย เชียร์ให้งดเหล้าครบพรรษาและงดเหล้าตลอดชีวิต แบ่งเป็น 4 ช่วง คือ
(1) ช่วงก่อนเข้าพรรษา “ชวน” เป็นช่วงเตรียมชวนคนดื่มมาบวชใจ ปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษาและคัดกรองผู้ดื่มเพื่อส่งต่อและออกแบบการช่วยชมเชียร์ต่อ
(2) ช่วงระหว่างพรรษา “ช่วยเชียร์” คือช่วงที่ชุมชนออกแบบช่วย ชม เชียร์ ให้ผู้ดื่มที่มาบวชใจได้มี กำลังใจ /เทคนิค/สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการงดเหล้าตลอดพรรษา เช่น จัดงานบุญ งานเลี้ยง ที่ไม่มีน้ำเมา และสร้างกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ผู้ที่บวชใจได้ทำเรื่องดีๆพร้อมกับครอบครัว เช่น เวทีครอบครัว กิจกรรมจิตอาสา สาธารณะ กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมเสริมกำลังใจ เป็นต้น การรณรงค์กับร้านค้าที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(3) ช่วงวันออกพรรษา คือ ช่วง “เชิดชู” ชื่นชมผู้ที่งดดื่มได้ตลอดพรรษา 3 เดือน ในเวที เชิดชูเกียรติหัวใจหินและการชวนให้งดต่อตลอดชีวิต
(4) ช่วงที่ 4 คือ ช่วง 9 เดือนนอกพรรษา “ชวน ช่วย เชียร์ต่อเนื่อง” ร่วมกับการรณรงค์จัดสภาพแวดล้อมระดับต่างๆ และงานประเพณี การทำงานของชมรมคนหัวใจเพชรในการลงไปช่วยให้คนดื่ม สามารถ ลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น

4. ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมระดับ และกระบวนการชวน ช่วย เชียร์ เชิดชู ในชุมชนคนสู้เหล้า ได้แก่
4.1 ทีมงานชุมชนคนสู้เหล้าระดับภูมิภาค ซึ่งมีภารกิจได้แก่ หนุนเสริมประชาคมงดเหล้าระดับจังหวัด ให้มีทักษะและกลยุทธ์การดำเนินงานร่วมกับชุมชนและอำเภอคนสู้เหล้า ในโครงการ รวมทั้งถอดบทเรียนเพื่อออกแบบการรณรงค์ลดละเลิกการบริโภคแอลกอฮอล์ เชิงกลยุทธ์ในรอบโครงการถัดไป
4.2 ประชาคมงดเหล้าระดับจังหวัด ซึ่งมีภาระกิจได้แก่ สนับสนุนการสร้างโมเดลชุมชนคนสู้เหล้า และชมรมคนหัวใจเพชร เพื่อถอดบทเรียนและสื่อสารต่อกลไกอำเภอและจังหวัด ในการสนับสนุนแผนงานหรือนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินการของชุมชนคนสู้เหล้า และชมรมคนหัวใจเพชร
4.3 แกนนำชุมชนระดับหมู่บ้านและตำบล ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เทศบาล/อบต. รพ.สต. อสม. ครู พระ เป็นต้น ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือ ออกแบบการจัดสภาพแวดล้อมระดับหมู่บ้านและครัวเรือน เพื่อเอื้อต่อการลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ดื่มในชุมชน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการจัดระบบชวน ช่วย เชียร์ และเชิดชู คนบวชในสู่คนหัวใจเพชร ในชุมชน
4.4 กลไกระดับอำเภอ ได้แก่ นายอำเภอ สสอ. รพ.ช. คณะสงฆ์อำเภอ เป็นต้น ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือ หนุนเสริมนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินงานของชุมชนคนสู้เหล้าและชมรมคนหัวใจเพชร
4.5 คนหัวใจเพชร ในชมรมคนหัวใจเพชร มีภารกิจ ชวน ช่วย เชียร์ ผู้ดื่ม สู่คนหัวใจเพชรร่วมกับชุมชนคนสู้เหล้า ในฐานะเพื่อนผู้ผ่านพ้นและเพื่อนช่วยเพื่อน
…………………………………………………….
คำนิยามในงานชุมชนคนสู้เหล้า และชมรมหัวใจเพชร
(1) ชุมชน หน่วยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในระดับหมู่บ้าน
(2) ชุมชนวิจัยคนสู้เหล้า ชุมชนที่อยู่ในกระบวนการวิจัยท้องถิ่นเพื่อศึกษาและจัดการปัญหาแอลกอฮอล์
อย่างมีส่วนร่วมในระดับชุมชนให้ครบทุกมิติ โดยคนในชุมชนเป็นผู้สร้างความรู้ชุดนี้เอง โดยมีนักวิชาการและประชาคมงดเหล้าระดับภาคและจังหวัดเป็นพี่เลี้ยงคอยหนุนเสริม
(3) ชุมชนคนสู้เหล้า ชุมชนที่หวังผลการเปลี่ยนแปลงจำนวนคนงดเหล้าครบพรรษาและงดเหล้าตลอดชีวิต ด้วยความร่วมมือของชุมชน ชมรมคนหัวใจเพชร และกลไกอำเภอ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดนักดื่มหน้าเก่าและป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เช่น การออกกฏกติชุมชนในประเด็นงานบุญงานเลี้ยงปลอดเหล้า การรณรงค์ร้านค้าปฏิบัติตามกฏหมายหรืองดขายเหล้า รวมทั้งมีการรณรงค์งดเหล้าก่อนพรรษา งดเหล้าระหว่างพรรษา(กิจกรรมชม ช่วย เชียร์คนงดเหล้าเข้าพรรษา) วันเชิดชูเกียรติคนงดเหล้าออกพรรษา การเก็บข้อมูลผู้ดื่มเพื่อติดตามตลอดพรรษาจนถึง3ปี การส่งเสริมให้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชนและครอบครัว การสื่อสารรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าในระดับชุมชนตตลอดทั้งปี เป็นต้น
(4) ชุมชนคนสู้เหล้าเข้าพรรษา ชุมชนขยายผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เพื่อให้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการงดเหล้าครบพรรษาของผู้ดื่มในชุมชนและพร้อมยกระดับเป็นชุมชนคนสู้เหล้าในลำดับถัดไป
(5) ชุมชนแหล่งเรียนรู้คนสู้เหล้า ชุมชนคนสู้เหล้าที่ได้รับการพัฒนาตามแนวทางชุมชนคนสู้เหล้าครบทั้ง4 ด้านเป็นฐานการเรียนรู้ ซึ่งมีการสนับสนุนให้จัดเป็นฐานการเรียนรู้และมีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ มีวิทยากรคอยถ่ายทอด ให้แก่ชุมชนอื่นๆและผู้ที่สนใจทั่วไปมาเรียนรู้ดูงานและมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
(6) ตำบลแหล่งเรียนรู้คนสู้เหล้า ตำบลที่มีบทเรียนการรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าและบทเรียนการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลด ละ เลิก เหล้าตลอดทั้ง12 เดือน มีชมรมคนหัวใจเพชรที่มีภารกิจ ชวน ช่วย เชียร์คนดื่มให้ลดละเลิกเหล้า มีกองทุนสนับสนุนการรณรงค์งดเหล้าตลอดทั้งปี และมีหลักสูตรพร้อมทั้งวิทยากรถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว แก่ชุมชนทั่วไปที่สนใจ
(7) นักดื่มหน้าเก่า กลุ่มนักดื่มในช่วงวัยอายุสูงกว่า 20 ปีขึ้นไป ซึ่งนับทั้งพฤติกรรมดื่มประจำและดื่มไม่ประจำ
(8) นักดื่มหน้าใหม่ กลุ่มนักดื่มในวัยอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งหญิงและชาย
(9) ผู้บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษา บุคคลที่ดื่มและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ และอยู่ระหว่างงดเหล้าเข้าพรรษา 3 เดือน
(10) คนหัวใจหิน บุคคลผู้ผ่านกระบวนการปฏิญาณตนและงดเหล้าครบพรรษา 3 เดือน ภายใต้กระบวนการรณรงค์งดเหล้าครบพรรษาทุกระดับพื้นที่รณรงค์
(11) คนหัวใจเหล็ก บุคคลที่ปฏิญาณตนงดเหล้าตลอดชีวิตและอยู่ระหว่างการงดเหล้าครบ3ปี
(12) คนหัวใจเพชร ผู้ที่เคยดื่มแล้วเลิกดื่มมาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป และตั้งใจงดเหล้าต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มีความตั้งใจเป็นจิตอาสาช่วยรณรงค์งดเหล้าร่วมกับเครือข่ายงดเหล้าและชุมชนคนสู้เหล้า
(13) อาสาสมัครนักรณรงค์ ผู้มีจิตอาสาช่วยรณรงค์งดเหล้าร่วมกับเครือข่ายงดเหล้า ชวนช่วยคนลดละเลิกเหล้า (อ.สคล.)
(14) การบริโภคเครื่องดื่ม ในความหมายของการรณรงค์ของชุมชนคนสู้เหล้า คือ การเลี้ยงและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ ในทุกระดับดีกรี
(15) ชมรมคนหัวใจเพชร กลไกพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรมคนหัวใจเพชร ให้เป็นผู้นำคนหัวใจเพชร และนักสื่อสารหัวใจเพชรให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนรณรงค์ชวน ช่วย เชียร์ ผู้ดื่มในชุมชน และ ร่วมรณรงค์ขับเคลื่อนรณรงค์ลด ละ เลิกการบริโภคแอลกอฮอล์ร่วมกับชุมชนคนสู้เหล้า และประชาคมงดเหล้าระดับจังหวัด
ประเภทของคนหัวใจเพชรในชมรมคนหัวใจเพชร
1. สมาชิกทั่วไป
2. ผู้นำคนหัวใจเพชร
3. นักสื่อสารคนหัวใจเพชร
บทบาทภารกิจของชมรมคนหัวใจเพชร
1. ชวนช่วยเชียร์ให้คนดื่มในชุมชนลดละเลิกเหล้า
2. ร่วมกับแกนนำชุมชนอำเภอในการรณรงค์จัดสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการลด ละ เลิกเหล้า
3. กิจกรรมอาสาอื่นๆเพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน
แนวคิดและแนวทางการดำเนินงาน : ชมรมคนหัวใจเพชร
กระบวนการพัฒนาชมรมคนหัวใจเพชร
ในระหว่างกระบวนการชวน ช่วย เชียร์ และ จัดสภาพแวดล้อม ชุมชนที่ขับเคลื่อนมาระยะหนึ่ง จะเริ่มส่งเสริมให้คนหัวใจเพชร รวมตัวกันเป็น “ชมรมคนหัวใจเพชร” เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคนหัวใจเพชรที่มีจิตอาสา และมีศักยภาพในการเป็นนักรณรงค์ชวน ช่วย เชียร์ และเป็นนักสื่อสารคนหัวใจเพชร อย่างต่อเนื่อง โดยแผนงานฯ สนับสนุนให้ชมรมเหล่านี้ประสานกับกองทุนในระดับท้องถิ่น และสนับสนุนให้ชมรมฯ มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
1. บทบาทภารกิจผู้นำหัวใจเพชรในชมรมคนหัวใจเพชร
1.เฝ้าระวัง ชี้เป้าและ/หรือ ส่งต่อ ผู้มีปัญหาการดื่มสุราที่มีปัญหารุนแรงหรือมีภาวะฉุกเฉิน เช่น อาการขาดสุรารุนแรง ให้แก่รพ.สต. หรือ อสม.
2. ชวน และแนะนำผู้ดื่มสุราประเภทต่างๆ ให้ลด ละ เลิกการดื่มสุรา โดยวิธีสร้างแรงจูงใจ
3. ติดตามช่วย ชมเชียร์ ผู้มีปัญหาในการดื่มสุราและผู้บวชใจในชุมชน ร่วมกับบุคลากรสุขภาพ
4. สื่อสารประสบการณ์การดื่มและเลิกดื่ม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
5. ร่วมมือกับแกนนำชุมชน ในการรณรงค์และสร้างมาตรการ เพื่อเอื้อต่อการลดละเลิกสุรา ในชุมชน
6. ค้นหา รวบรวม ผู้เลิกดื่มเหล้าตลอดชีวิตเข้าสู่ชมรม และพัฒนาศักยภาพ
2. แนวทางพัฒนาชมรมคนหัวใจเพชร 4 ด้าน
2.1 สมาชิกคนหัวใจเพชร เพิ่มจำนวนสมาชิก รวม 3 ปี 10,000 คน
2.2 คนหัวใจเพชรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็น“ผู้นำคนหัวใจเพชร”และ“นักสื่อสารหัวใจเพชร” รวม 3,000 คน
2.3 นักสื่อสารหัวใจเพชรและผู้นำคนหัวใจเพชร สามารถดำเนินการเชิญชวนในชุมชน/โรงเรียน/โรงงาน 3ปี มาร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,500 แห่ง
2.4 ชมรมฯขับเคลื่อนงานชวน ช่วย เชียร์ เชิดชู ผู้บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษาและเลิกเหล้าตลอดชีวิต โดยใช้ งบจากกองทุนสุขภาพตำบล หรือพึ่งตนเองได้ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกอำเภอเพื่อให้มีมาตรการหรือนโยบายที่สนับสนุนการขับเคลื่อนของชุมชนคนสู้เหล้าและชมรมคนหัวใจเพชรที่มีบทบาทพัฒนาศักยภาพคนหัวใจเพชรให้มีภารกิจชวน ช่วย เชียร์

กรอบแนวคิดและแนวทางการดำเนินงาน : ชุมชนแหล่งเรียนรู้คนสู้เหล้านิยาม
(1) ชุมชนแหล่งเรียนรู้คนสู้เหล้า ชุมชนคนสู้เหล้าที่ได้รับการพัฒนาตามแนวทางชุมชนคนสู้เหล้าครบทั้ง 4 ด้านซึ่งมีศักยภาพพัฒนาเป็นฐานการเรียนรู้ ซึ่งมีการสนับสนุนให้จัดเป็นฐานการเรียนรู้และมีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ มีวิทยากรคอยถ่ายทอด ให้แก่ชุมชนอื่นๆและผู้ที่สนใจทั่วไปมาเรียนรู้ดูงานและมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
(2) ตำบลแหล่งเรียนรู้คนสู้เหล้า ตำบลที่มีบทเรียนการรณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าและบทเรียนการจัด สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลด ละ เลิก เหล้าตลอดทั้ง12 เดือน มีชมรมคน
หัวใจเพชรที่มีภารกิจ ชวน ช่วย เชียร์คนดื่มให้ลดละเลิกเหล้า มีกองทุน สนับสนุนการรณรงค์งดเหล้าตลอดทั้งปี และมีหลักสูตรพร้อมทั้งวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว แก่ชุมชนทั่วไปที่สนใจ
คุณสมบัติ :
(1) มีการดำเนินงานตามแนวทางชุมชนคนสู้เหล้าทั้ง 4 ด้าน อย่างน้อยร้อยละ 50
- มีการเก็บข้อมูล และการคืนข้อมูลในชุมชน เพื่อติดตามหนุนเสริมผู้บวชใจจนครบ3ปี และใช้ข้อมูลเพื่อทำงานกับกลไกนโยบายระดับตำบล อำเภอและจังหวัด เพื่อเอื้อต่องานชุมชนคนสู้เหล้า ข้อมูลที่เก็บประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของชุมชน สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการรณรงค์งดเหล้า ร้านค้าที่จำหน่ายแอลกอฮอล์ กลุ่มดื่ม จุดเสี่ยง การแก้ไขปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์ เป็นต้น (ตามแบบฟอร์มที่1) กลุ่มดื่มที่เก็บข้อมูลเพื่อติดตามหนุนเสริม 3 ปี
- ผู้ดื่มเข้าสังคม, ผู้ดื่มประจำ(อย่างน้อยสัปดาห์ละ1ครั้ง) และดื่มหนัก(ดื่มเกือบทุกวันและเลิกไม่ได้ด้วยตนเอง)
- ผู้ดื่มในชุมชนมาร่วมปฎิญาณตนงดเหล้า
- ผู้บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษาอยู่จนครบพรรษา
- ผู้ปฎิญาณตนงดเหล้าตลอดชีวิต
2. มีกระบวนการชวน ช่วย ชมเชียร์และเชิดชูเกียรติ ให้ผู้บวชใจงดเหล้าได้ลด ละ เลิกการดื่มเหล้า-เบียร์ อย่างต่อเนื่องจนสามารถเลิกเหล้าได้ตลอด. ชีวิต (อย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป)
3. มีกระบวนการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์
- มีมาตรการชุมชน และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเอื้อต่อการไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ดื่ม ไม่เลี้ยงแอลกอฮอล์ในชุมชน
- มีการรณรงค์กับร้านค้าให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ขายในช่วงโอกาสสำคัญๆหรือเป็นร้านค้าปลอดเหล้า
- มีกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน ครอบครัว ชุมชน เพื่อส่งเสริมการลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกำลังใจแก่ผู้บวชใจตลอดทั้งปี
- มีการรณรงค์เพื่อสื่อสารสร้างกระแสให้เกิดการรับรู้เรื่องการลด ละ เลิกบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดทั้งปี
4. มีผู้นำคนหัวใจเพชรร่วมเป็นอาสาสมัครชวน ช่วยเชียร์ ให้คนลด ละ เลิกเหล้า ร่วมกับชุมชนฯ
(2) พัฒนศักยภาพตนเองไปสู่การเป็นชุมชนพึ่งตนเอง(ชุมชนคนหัวใจเพชร)
(3). พร้อมจัดการตนเองเป็นชุมชนแหล่งเรียนรู้คนสู้เหล้าเพื่อถ่ายทอดความรู้การดำเนินงานรณรงค์ลดละเลิกเหล้าในชุมชนของตนสู่ชุมชนที่สนใจอื่นๆ ทั่วประเทศ
แนวทางการพัฒนา
(1) มีการถอดบทเรียนการดำเนินงานชุมชนคนสู้เหล้าครบทั้ง 4 ด้าน
(2) มีการนำความรู้ที่ถอดบทเรียนทั้ง4ด้าน มาออกแบบเป็นฐานการเรียนรู้ ที่มีหลักสูตรหรือกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละฐาน
(3) มีวิทยากรหรือกระบวนกรนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำฐาน
(4) มีสื่ออุปกรณ์เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละฐาน
(5) มีการจัดการชุมชนแหล่งเรียนรู้ฯ เพื่อพร้อมรองรับการมาเรียนรู้ของชุมชนอื่นๆ
แนวทางการถอดบทเรียนแต่ละด้าน เพื่อพัฒนาเป็น; ฐานเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และวิทยากรประจำฐาน
(1) ประวัติศาสตร์เรื่องเหล้าในชุมชน
o การดื่ม
o การผลิต
o การขาย
o การซื้อ
o ผลกระทบสำคัญๆ
(2) จุดเปลี่ยนในการมารณรงค์ลดละเลิกเหล้าของชุมชนคืออะไร
o เหตุการณ์ที่ทำให้เปลี่ยน
o ใครเกี่ยวข้องบ้าง
o เริ่มต้นอย่างไร
(3) การจัดสภาพแวดล้อม
o แนวทางการดำเนินงาน
o บทบาทของใครบ้าง
o กิจกรรมสำคัญๆ และเครื่องมือที่ใช้
(4) การติดตามหนุนเสริมผู้บวชใจจาก3เดือนถึง3ปี
o แนวทางการดำเนินงาน; ชวน ช่วย ชมเชียร์ เชิดชู ชวนต่อ
o บทบาทของใครบ้าง
o กิจกรรมสำคัญๆ และเครื่องมือที่ใช้
(5) ชมรมคนหัวใจเพชร
o ก่อตั้งอย่างไร เมื่อไร
o ใครเป็นแกนนำ
o เป้าหมายและภารกิจของชมรม
o ผลงานที่สำคัญ
o แผน3-5ปี เป็นอย่างไร และแนวทางการดำเนินงานที่ยั่งยืน
(6) นวัตกรรมหรือเครื่องมือที่สำคัญๆ ในการรณรงค์ลดละเลิกเหล้า
โครงการพื้นที่บูรณาการรณรงค์งดเหล้าลดปัจจัยเสี่ยง ระดับอำเภอ
ระยะเวลาดำเนินงานปี 2562 – 2564
โดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
พื้นที่ดำเนินการของเครือข่ายงดเหล้า จะมีประชาคมงดเหล้าจังหวัดประสานความร่วมมือระดับจังหวัด ทั้งนี้จากการดำเนินงานโดยประชาคมงดเหล้าจังหวัดตั้งแต่ปี 2549 ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่อเนื่อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านชุมชน ยุทธศาสตร์ด้านเฝ้าระวังฯ ยุทธศาสตร์ด้านประเพณี ยุทธศาสตร์ด้านป้อกันหน้าใหม่ และยุทธศาสตร์เครือข่ายเข้มแข็ง โดยพบว่าพื้นที่ระดับอำเภอ จะเป็นพื้นที่บูรณาการยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ได้ ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนดังกล่าว
ในปี 2563 นี้ ได้มีอำเภอร่วมโครงการ 73 อำเภอ แบ่งเป็นกลุ่มอำเภอที่ดำเนินการต่อเนื่อง 1-3 ปี จำนวน 28 อำเภอ กลุ่มอำเภอที่เริ่มปีนี้ 39 อำเภอ และกลุ่มอำเภอที่เน้นการป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ 6 อำเภอ
กรอบแนวคิดการบูรณาการ 5 ขยาย ใช้แบบจำลอง ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

1.การป้องกันหน้าใหม่ ในกลุ่มเยาวชน นักเรียน และเยาวชนนอกระบบ รวมทั้ง การเข้าใจในค่านิยมการดื่มความเชื่อในท้องถิ่นที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดเกิดนักดื่มหน้าใหม่
2.การปรับสภาพแวดล้อมสร้างกระแส งานรณรงค์ งานบุญงานศพ ร้านค้าต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ คนต้นแบบ และการประชาสัมพันธ์พร้อมกับการบังคับใช้กฎหมาย และการจัดการผู้ผลิต ผู้ขาย การส่งเสริมการตลาด
3.ความเข้มแข็งของนโยบายในระดับอำเภอ และความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
4. การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางสะท้อนการดำเนินงาน และสื่อสารสาธารณะ
5.การบำบัดรักษาช่วยเหลือ การคัดกรอง ทั้งกลไกของราชการ และการช่วยเหลือโดยภาคประชาสังคม เช่น สติบำบัด ใกล้บ้านสมานใจ , MI&MET , Family Club , กระบวนการชวน ช่วย เชียร์โดยชมรมคนหัวใจเพชร เป็นต้น
พื้นที่ดำเนินงานระดับอำเภอยุทธศาสตร์บูรณาการระดับอำเภอ ปี 2563 – 2564
พื้นที่ที่ดำเนินการต่อเนื่อง 1 -3 ปี | พื้นที่ดำเนินการเพิ่ม ปี 63 | ป้องกันหน้าใหม่ | |
เหนือบน | เชียงกลาง น่าน ปัว น่าน สองแคว น่าน เวียงหนองล่อง ลำพูน เมืองพะเยา ดอกคำใต้ พะเยา เชียงม่วน พะเยา | อำเภอเวียงชัย เชียงราย อำเภอพาน เชียงราย อำเภอเมืองน่าน เมืองลำพูน หางดง เชียงใหม่ | แม่จัน เชียงราย อำเภอเมืองเชียงใหม่ |
เหนือล่าง | อำเภอเมือง ตาก สามเงา ตาก ปางศิลาทอง กำแพงเพชร โกสัมพี กำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย ลับแล อุตรดิตถ์ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เขาค้อ เพชรบูรณ์ ตากฟ้า นครสวรรค์ ทับทัน อุทัยธานี | วังทอง พิษณุโลก | |
อีสานบน | นาดูน มหาสารคาม ยางสีสุราช มหาสารคาม เสลภูมิ ร้อยเอ็ด | สว่างแดนดิน สกลนคร นาทม นครพนม หนองแสง อุดรธานี เอราวัณ เลย เฝ้าไร่ หนองคาย เมือง ขอนแก่น | โนนสัง หนองบัวลำภู |
อีสานล่าง | กุดชุม ยโสธร ไทยเจริญ ยโสธร โพธิ์ศรีสุวรรณ ศรีสะเกษ ศรีรัตนะ ศรีสะเกษ ขุขันธ์ ศรีสะเกษ สนม สุรินทร์ พุทไธสง บุรีรัมย์ โชคชัย นครราชสีมา | คอนสาร ชัยภูมิ แก้งคร้อ ชัยภูมิ นิคมคำสร้อย มุกดาหาร ม่วงสามสิบ อุบลราชธานี เดชอุดม อุบลราชธานี | บัวเชด สุรินทร์ ประโคนชัย บุรีรัมย์ |
กลาง | เมืองอ่างทอง ไชโย อ่างทอง ป่าโมก อ่างทอง | โพธิ์ทอง อ่างทอง เมืองปทุมธานี ลำสนธิ ลพบุรี บางระจัน สิงห์บุรี กทม.หลักสี่ | |
ตะวันออก | :เมืองปราจีน ประจันตคาม ปราจีนบุรี บ้านสร้าง ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี นาดี ปราจีนบุรี | ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี ศรีมโหสถ ปราจีนบุรี | |
ตะวันตก | หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี ทับสะแก ประจวบ ปากท่อ ราชบุรี | ||
ใต้บน | สวี ชุมพร หลังสวน (ชุมพร) | ||
ใต้ล่าง | นาโยง ตรัง อำเภอเมือง สตูล | ||
28 อำเภอ | 39 อำเภอ | 6 อำเภอ |
แนวคิดอำเภอป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ใช้แนวคิดของการแก้ปัญหาเยาวชนประเทศไอซ์แลนด์
การควบคุมป้องกันที่ต้นน้ำ หมายถึงนักดื่มหน้าใหม่นั้น เป็นการกำหนดเป้าหมายไปที่การป้องกันเยาวชนเป็นหลัก แต่ก็มองเส้นทางปัญหาให้ครอบคลุมกลางน้ำ และปลายน้ำ ประกอบกับ เด็กเยาวชนในยุคนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพสื่อ ความสัมพันธ์ เทคโนโลยี กระแสสังคม ดังนั้น การแก้ปัญหาจำเป็นต้องใช้รูปแบบแนวทางที่เป็นการดำเนินงานในระดับพื้นที่ พื้นที่อำเภอจึงได้เลือกขึ้น โดยล์อกใน 6 อำเภอ ใน 6 จังหวัดที่มีรายงานจำนวนนักดื่มหน้าใหม่อยู่ในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอโนนสัง จังหวัดประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
ทั้งนี้ โครงการนี้ มีแนวคิดต้นแบบจากการแก้ไขปัญหาเยาวชนจากประเทศไอซ์แลนด์มาประยุกต์ใช้ โดยประเทศไอซ์แลนด์จัดการปัญหาเหล้ายาในกลุ่มวัยรุ่นด้วย “5 วิธี ปฏิวัติวัยรุ่น” ในช่วงที่การดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ในหมู่เยาวชนของชาติช่วงทศวรรษที่ 1980-1990
ในปี 1998 ไอซ์แลนด์พบว่า 42% ของเยาวชนอายุ 15-16 ปี ดื่มสุราและใช้ยาเสพติด ส่งผลให้ช่วงนั้นกรุงเรคยาวิก กลายเป็นเมืองที่มีปัญหาดังกล่าวรุนแรงที่สุดในยุโรป อย่างไรก็ตาม อัตราการดื่มสุราและใช้ยาเสพติดในหมู่วัยรุ่นไอซ์แลนด์ในปัจจุบันได้ลดลงเหลือเพียง 5% ด้วย “5 มาตรการ ปฏิวัติวัยรุ่น” ที่ไอซ์แลนด์นำมาปรับใช้ 5 วิธี ที่ไอซ์แลนด์ใช้ “ปฏิวัติวัยรุ่น”ได้แก่
1. กำหนด เคอร์ฟิว สำหรับวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 16 ปี
วัยรุ่นที่มีอายุน้อยว่า 16 ปี จะต้องกลับเข้าบ้านภายในเวลา 22.00 น. โดยในบางพื้นที่จะมีกลุ่มผู้ปกครองออกลาดตระเวนตามท้องถนนเพื่อตรวจตราเยาวชนที่อาจออกไปมั่วสุมนอกบ้านในยามวิกาล มาร์ธา ซีกูร์ยอนส์ดอทเตียร์ หนึ่งในผู้ปกครองที่ร่วมการลาดตระเวนกล่าวว่า “เด็กอายุต่ำกว่ากำหนดส่วนมากที่ยังอยู่ข้างนอกหลังสี่ทุ่ม มักจะกลับบ้านทันทีหลังจากที่เราตักเตือน”
2. ให้ผู้ปกครองลงนามในสัญญา
กลุ่มผู้ปกครองต่างตกลงร่วมกันในสัญญา เพื่อกำหนดกฏเกณฑ์ พฤติกรรมของบุตรหลาน เช่น ไม่อนุญาตให้พวกเขาดื่มแอลกอฮอล์ หรือ สนับสนุนให้พวกเขาใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น
3. ให้วัยรุ่นใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์
เยาวชนไอซ์แลนด์ จะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 16,500 บาท) ทุกปี เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน โดยกีฬาอย่าง ฟุตบอล วอลเลย์บอล และว่ายน้ำ เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นชาย ขณะที่กีฬาขี่ม้า เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นหญิง
4. ใช้หลักวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ลดปัญหาเหล้า-ยา
ทุกปี โครงการ Youth in Iceland จะทำการสำรวจวัยรุ่น เพื่อใช้ตรวจวัดการใช้ชีวิตของวัยรุ่นจากแง่มุมต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว ความรู้สึก รวมถึงการใช้สารเสพติด โดยข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจดังกล่าวถือเป็นกุญแจสำคัญในการลดการใช้สารเสพติดในกลุ่มเยาวชน อิงงา ดูรา ซิกฟุสดอทเทียร์ จาก Youth in Iceland กล่าวว่า “โรงเรียนจะใช้เวลาในการสำรวจ 2 สัปดาห์ ซึ่งโครงการจะนำผลสำรวจที่ได้มาวางแผนดำเนินการเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเรา”
5. ให้นักการเมืองเข้ามามีส่วนร่วม
ดาเกอร์ เอ็กเกอร์ทสัน นายกเทศมนตรีกรุงเรคยาวิก อธิบายถึงขั้นตอนความสำเร็จในการแก้ปัญหาเหล้า-ยา ในกลุ่มวัยรุ่นไอซ์แลนด์ ว่า ต้องอาศัยหลักฐานข้อมูลจากงานวิจัย เพื่อช่วยในการวางแผนผ่านการพูดคุยกับครอบครัว โรงเรียน และ สโมสรเยาวชน รวมถึงทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง”
แหล่งข้อมูล https://www.bbc.com/thai/international-42065324
จะเห็นว่า บทเรียนทั้ง 5 เรื่องนั้นสามารถนำมาปรับใช้ได้ ทั้งนี้ ควรเพิ่มเงื่อนไขการปรับสภาพแวดล้อมของชุมชน และการบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ทั้งนี้ ปัจจัยด้านผู้ปกครอง เป็นความท้าทายของบริบทสังคมไทยที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยมีอุปสรรคด้านการสื่อสาร

โครงการรณรงค์งดเหล้า
เข้าพรรษา และออกพรรษาลาเหล้า
โดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา
แนวคิดการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เป็นการใช้โอกาสเทศกาลที่เป็นพิธีกรรมของศาสนาพุทธที่กำหนดให้พระสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม โดยประมาณ ซึ่งผู้ที่นับถือศาสนาพุทธจะมีการร่วมปฏิบัติตามคำสอนรักษาศีล ปฏิบัติธรรมไปด้วยกันในช่วงเวลาดังกล่าว และสิ่งหนึ่งที่เป็นวิถีปฏิบัติคือการงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งการรณรงค์จึงถือโอกาสนี้เชิญชวนให้ประชาชนลด ละ เลิกแอลกอฮอล์และอบายมุขต่างๆ โดยเริ่มโครงการในปี 2546 ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ 2 ด้าน คือด้าน Air war เป็นการใช้การโฆษณาทางโ?รทัศน์ และGround war เป็นการรณรงค์ในพื้นที่ รวมทั้ง การมีนโยบายสนับสนุน ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีให้วันเข้าพรรษาเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ โดยตั้งปีปี 2559 เป็นต้นมา โดยย้อนหลังการรรรงค์และการปรับแนวทางการรณรงค์ในและปี มีการภาพรวมการดำเนินงาน และผลที่เกิดขึ้น ดังนี้
ปี 2546 – 2548 เป็นช่วงระยะแรกของการรณรงค์จึงต้องการให้เกิดเป็นกระแสวงกว้าง เน้น Theme รณรงค์งดเหลัาเพื่อแม่เพื่อชี้ให้เห็นว่าปัญหาการดื่มนั้น แม่ได้รับความทุกข์อย่างไร ซึ่งทำให้ผลสำรวจพบว่า ในปีแรกมีผู้งดและลดการดื่มแอลกอฮอล์ถึงร้อยละ 40.6 เพิ่มขึ้นโดยประมาณการว่านักดื่มประมาณ 60% ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ นักดื่มประมาณหนึ่งในสาม ไม่ได้ดื่มเลย ประมาณ ร้อยละสิบห้า ตั้งใจจะงดแต่งดไม่ได้ตลอดสามเดือน และอีกร้อยละยี่สิบแม้จะไม่ได้งดแต่ก็ลดการดื่มลงปัจจุบัน
ต่อมาได้เน้นประเด็นด้านเศรษฐกิจ คือ การดื่มทำให้สูญเสียรายได้ ในปี 2549 – 2551 เพื่อชี้ให้เห็นว่าในระดับครอบครัว และระดับประเทศการงดเหล้าทำให้คนมีรายได้มากขึ้น และมีความสุขขึ้น ทั้งนี้ 2551 รัฐบาลได้ประกาศวันงดดื่มสุราแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันเข้าพรรษาทุกปี ทำให้เกิดกลไกการทำงานที่ฝ่ายหน่วยงานราชการต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
ปี 2552- 2556 แนวทางรณรงค์เปลี่ยนเป็นความสุขของคนเลิกดื่มและครอบครัว “สุขปลอดเหล้า” ชี้ให้เห็นว่าเมื่อคนเลิกเหล้าจะมีความสุข และมีกิจกรรมต่างๆที่ทดแทน รวมทั้ง มิตรภาฟไม่ได้เกิดในวงเหล้าด้วย อย่างไรก็ตาม เริ่มนำเสนอในแง่มุมของศาสนาเน้นให้ถึงวันสำคัญของชาวพุทธ และการลดละเลิกทำให้มีความสุขเหมือนได้คนใหม่
ในปี 2557-2558 ได้ปรับเปลี่ยนข้อความรณรงค์จากเดิมเป็น “งดเหล้าเข้าพรรษา เปลี่ยนเป็น “งดเหล้าครบพรรษา” และเน้นการลงไปทำงานในชุมชน ทำให้เกิดเป็นพื้นที่รูปธรรม และสามารถทำการรณรงค์ได้ต่อเนื่องทั้งปีได้ ตลอดจนสามารถช่วยเหลือผู้ที่ดื่มหนักได้มากขึ้น จนพัฒนามาเป็นชุมชนคนสู้เหล้า เพื่อเพิ่มความสำเร็จในระดับพื้นที่ จากเดิมเน้นการวัดผลการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ โดยมีการพัฒนาชุมชนวิจัยขึ้น 4 แห่ง 4 ภาค คือ บ้านชอนสมบูรณ์ จ.ลพบุรี, บ้านวังว้า จ.น่าน , บ้านโนนบอน จ.อุบลราชธานี และบ้านวังเลา จ.นครศรีธรรมราช แต่ละจังหวัดมีชุมชนรูปธรรม “ชุมชนคนสู้เหล้า” รวมทั้งหมด 588 แห่ง และมีชุมชนแหล่งเรียนรู้ 46 แห่ง โดยปี 2558 การรณรงค์ใช้แนวคิดเรื่อง “เปลี่ยนคนเมา เป็นคนใหม่” และเน้นการทำงานเก็บข้อมูลชุมชนมากขึ้น วางระบบกลไกการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในชุมชน คือ จำนวนคนงดเหล้าจำนวนเงินที่ประหยัดได้ จำนวนร้านค้าที่เข้าร่วมงานประเพณีชุมชนปลอดเหล้า เป็นต้น และในปี 2559 การศึกษาวิจัยชุมชนพบว่า คนในชุมชนกลับไปดื่มใหม่ระหว่างพรรษาเกินกว่าครึ่งที่ตั้งใจงด ทำให้การรณรงค์ในชุมชนเน้นให้เกิดความต่อเนื่อง ได้เสนอยกย่องให้คนเลิกเหล้าครบ 3 เดือนเป็นคนหัวใจหิน และเริ่มวางแนวทางให้คนที่เลิกตลอดชีวิตเป็นคนหัวใจเพชร
ปี 2560 เน้นความร่วมมือของชุมชนจนถึงระดับอำเภอ และจังหวัด ในการ ชวน ช่วย เชียร์คนเลิกเหล้า และชวนให้งดเหล้าไปตลอดทั้งปี โดยเริ่มจากก่อนเข้าพรรษา จัดกิจกรรมคนบวชใจปฏิญาณตน จากนั้นระหว่างพรรษามีการให้กำลังใจคนเลิกเหล้าครบพรรษาคนหัวใจหิน ซึ่งจะมีการจัดเวทียกย่องในช่วงออกพรรษา โดยมีการสนับสนุนให้คนเลิกเหล้าครบ 3 ปื ขึ้นไปเป็นนักรณรงค์ “คนหัวใจเพชร” ก่อตั้งเป็นชมรม คนเลิกเหล้านักรณรงค์ “คนหัวใจเพชร” เพื่อช่วยเหลือให้กำลังใจคนที่กำลังเลิกเหล้าให้สามารถทำความตั้งใจ ได้สำเร็จ โดยจะทำทุกจังหวัด และจะทำต่อเนื่องไม่ใช่เฉพาะในช่วงเข้าพรษาเท่านั้น ซึ่งจะเป็นกลไกการทำงานรณรงค์ร่วมกับกลไกภาครัฐที่มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นกำลังสำคัญ โดยปีนี้ มีการดำเนินการเข้มข้นเก็บข้อมูลผู้ดื่มเพื่อติดตามช่วย ชม เชียร์ ให้งดเหล้าครบพรรษาใน 174 หมู่บ้าน มีชุมชนสู้เหล้าระดับหมู่บ้านขยายผลสู่ระดับตำบลจำนวน 59 ตำบลและได้รับการยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนคนสู้เหล้าระดับตำบล จำนวน 9 ตำบล มีกลไกอำเภอที่ให้ความร่วมมือรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ทั้ง 98 อำเภอ โดยมี 30 อำเภอที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ช่วยขยายผลจากชุมชนคนสู้เหล้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ไปสู่ชุมชนอื่นๆ ในอำเภอ นอกจากนี้ยังได้จัดการอบรมผู้นำคนหัวใจเพชรได้ 320 คน จากสมาชิกคนหัวใจเพชรในปีที่ 1 จำนวน 3,000 คน และมีคนหัวใจเพชรต้นแบบที่มางานแถลงข่าวเปิดตัวคนหัวใจเพชร 89 คนที่วัดชลประทานฯ อีกด้วย ถือได้ว่าวงจรการทำงานด้านการณรงค์มาถึงพฤติกรรมระดับบุคคลและทำให้เกิดนักรณรงค์ในชุมชนเกิดขึ้นแล้ว
ปี 2561 โครงการได้รณรงค์โดยใช้ชุมชมคนสู้หล้าต่อเนื่อง โดยมีนายอำเภอนักรณรงค์จำนวน 157 แห่ง ที่ได้รับรางวัลเป็นกลไกสำคัญ ยังคงทำให้มีการปฏิญาณตนงดเหล้าก่อนเข้าพรรษา และระหว่างพรรษา ได้เพิ่มเรื่องการวิ่งรณรงค์พักตับ ใน 9 สนาม 9 ภูมิภาคและเน้นการจัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูคนหัวใจหินในช่วงออกพรรษายังดำเนินการต่อ เพื่อให้เกิดเป็นประเพณีปฏิบัติ คือ ก่อนเข้าพรรษามีพีธีปฏิญาณตน ระหว่างพรรษามีกิจกรรมชวน ช่วยเชียร์ และออกพรรษา มีการยกย่องมอบรางวัล โดยทำให้เป็นชุมชนคนสู้เหล้า มีคนหัวใจหิน เหล็ก เพชร ในชุมชนทำให้เกิดความต่อเนื่องไม่ใช่แค่ทำงานรณรงค์ 3 เดือนแล้วจบรอขึ้นโครงการใหม่ปีหน้า โดยมีรายงานผลในชุมชนสู้เหล้า คือ มีการรณรค์ลดละเลิกเหล้าเข้าพรรษา ใน 1,557 ชุมชน และมี 430 ชุมชน ยกระดับเป็นชุมชนคนสู้เหล้า เพื่อรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าตลอดทั้งปี มีคนหัวใจเพชร ในชมรมคนหัวใจเพชรทั่วประเทศ จำนวน 4,802 คน ผ่านการพัฒนาศักยภาพให้เป็นผู้นำคนหัวใจเพชรซึ่งมีภารกิจชวน ช่วย เชียร์ แล้วจำนวน 550 คน และเริ่มจัดตั้งเป็นชมรมคนหัวใจเพชร ได้ 30 ชมรม
ปี 2562 จากตัวเลขผู้งดเหล้าเข้าพรรษาที่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2557 สัดส่วนของผู้ที่งดดื่มเป็นบางครั้ง ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2557 มีจำนวนที่งดเป็นบางครั้ง จำนวนร้อยละ 43.6 ในปีล่าสุด พบว่าเหลือจำนวน ร้อยละ 22.5 ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยภายในในโครงการที่ยังต้องปรับปรุง และปัจจัยภายนอกด้านการส่งเสริมการขาย กิจกรรมการตลาดต่างๆ รวมทั้ง กิจกรรมทางสังคม ทำให้ผู้ที่ดื่มประจำ ไม่มีแรงจูงใจในการลด ละ จึงไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และมีแนวโน้มการไม่ลด ละ เพิ่มมากขึ้นได้
ผลการรณรงค์ พบว่า มีผู้ร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา 53.5% แบ่งเป็น ผู้ที่งดเหล้าตลอดพรรษา 31% และผู้ที่งดบางช่วงและลดการดื่มลง 22.5% ซึ่งสัดส่วนใกล้เคียงกับปี 2561 กลุ่มที่ลด ละ เลิกดื่ม ส่วนใหญ่ระบุว่าทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เฉลี่ยรายละ 1,284 บาท โดยรวมที่ประเทศประหยัด ได้เป็นจำนวน 8,251 ล้านบาท กลุ่มที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมี 5% ตั้งใจจะเลิกดื่มตลอดชีวิต สำหรับเข้าพรรษา ปีหน้า ยังคงมีผู้ดื่มเกือบ 2 ใน 3 มีความตั้งใจจะลด ละ เลิกเช่นเดิม นอกจากนี้ ยังพบว่าในเดือนที่รณรงค์ งดเหล้าเข้าพรรษา ช่วยลดผู้เสียชีวิตจากทุกสาเหตุลง 9% การเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์ลดลง 25% และยังส่งผลให้การดื่มลดลง 10%
ปี 2563 เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 การรณรงค์จึงสัมพันธ์กับวิกฤต ได้แก่ วิกฤตการใช้ชีวิต ที่ต้องมีสติมากขึ้น และวิกฤตเศรษฐกิจที่ต้องประหยัด หรือการหารายได้ โดยการรณรงค์เน้นงานระดับชุมชนต่อเนื่องผลที่เกิดขึ้น จำนวนชุมชนเชิงคุณภาพ 392 แห่ง ประหยัดเงินได้ 21,753,352 บาท คนงดครบพรรษา 15,106 คน (หัวใจหิน) งดต่อเนื่อง 3,687 คน คนหัวใจเหล็ก 1,454 คน คนหัวใจเพชร 1,833 คน มีรูปแบบกิจกรรมในพื้นที่ที่น่าสนใจ เช่น
- การติดตามให้กำลังใจโดยชมรมคนหัวใจเพชร “ของเยี่ยม” ทำให้คนงดเหล้าสามารถงดได้ตลอดพรรษา เช่น การปั่นจักรยานไปเยี่ยม / การปลูกผักแล้วเอาผักไปเยี่ยมคนงดเหล้าโดยเด็กเยาวชน
- การจัดกิจกรรมเอาขวดเหล้ามาแลกกระบอกไม้ไผ่
- การปฏิญาณตนแบบดิลิเวอรี่ มี 3 เมนูให้เลือกปฏิญาณตน / ป้องกันโควิด
- การใช้ปฏิญาณตนออนไลน์ ในกลุ่มวัยรุ่น
- การตรวจเลือดหาค่าเอมไซต์ตับ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพตับ
แนวคิดเชิงระบบ : จากรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา นำไปสู่การสร้างชุมชนสู้เหล้า และส่งเสริมนโยบายในระดับอำเภอ ตามวงจรเชิงระบบข้างล่างนี้
กิจกรรมชุมชนคนสู้เหล้า และชมรมคนหัวใจเพชร
กิจกรรมลูกเขียนจดหมายสื่อรัก
กิจกรรมระหว่างพรรษา “วิ่งพักตับ” ปี 2562

ประเด็นการรณรงค์ในปี 2557 – 2563 ทั้ง Air war และ Ground war
ผลการสำรวจผู้เข้าร่วมโครงการ


แนวโน้มผู้ที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2557 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเหตุปัจจัยทั้งภายในโครงการที่เน้นในกลุ่มนักดื่มประจำมากขึ้น อาจจะละเลยกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ รวมทั้ง การเน้นพื้นที่รูปธรรมทำให้พื้นที่เชิงปริมาณลดการให้ความสำคัญลง รวมทั้ง การประสานกับฝ่ายนโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานพระพุทธศาสนา และคณะสงฆ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้ง หน่วยงานสถานประกอบการ ภาคธุรกิจ


เหตุปัจจัยดังกล่าว ทั้งส่วนที่เหตุผลที่งดเหล้าเข้าพรรษา และเหตุผลที่ไม่งดเหล้าเข้าพรรษา พบว่า เหตุผลที่งดเพราะเป็นการดำเนินงานทุกปีต่อเนื่อง ปกติดื่มน้อย ต้องการรักษาศีล เป็นการฟื้นฟูสุขภาพ และเป็นค่านิยมที่พึงกระทำ ส่วนเหตุผลที่ไม่งดนั้น เป็นทั้งปัจจัยแวดล้อม และปัจจัยส่วนบุคคลใกล้เคียงกัน
อย่างไรก็ตาม การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เป็นการลงทุนที่น้อย แต่ได้ผลมาก จากผลสำรวจพบว่า สามารถประหยัดเงินได้กว่า 6,000 ล้านบาท ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคล ครอบครัว และเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตใหม่ จึงเป็นโครงการที่จะต่อยอดพัฒนาเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น
ออกพรรษาลาเหล้า
หลังออกพรรษาแล้ว แต่ละพื้นที่ได้มีการจัดกิจกรรม ฉลองชัยคนหัวใจเพชร โดยมีการมอบเข็มที่ระลึกคนหัวใจเหล็ก หัวใจเพชร และมอบใบประกาศษณียบัตรคนหัวใจหิน เป็นการชื่นชมให้กำลังใจ ผู้ที่งดเหล้าได้ครบพรรษา และเชิญชวนให้ลดละเลิก อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กิจกรรมว่า ออกพรรษาลาเหล้า





โครงการการมอบรางวัลนายอำเภอนักรณรงค์งดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง
โดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
ตั้งแต่ ปี 2554 เป็นต้นมา สคล.และเครือข่ายฯ ได้ประสานความร่วมมือกับนายอำเภอ ในการรณรงค์ลด ละ เลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่และในปี 2556 ได้เริ่มจัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติให้แก่นายอำเภอนักรณรงค์งดเหล้าลดปัจจัยเสี่ยง จำนวน 72 ท่าน และในปี 2557 จำนวน 152 ท่าน ในปี 2559 จำนวน 98 ท่านร่วมกับผู้บริหารท้องถิ่น 50 ท่าน และ ปี 2561 จำนวน 155 แห่ง ซึ่งในปี 2563 มีนายอำเภอเชิญเข้าร่วมการยกย่องเชิดชู จำนวน 156 ท่าน
คุณสมบัตินายอำเภอนักรณรงค์งดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง
1. ดำเนินการ หรือตั้งใจที่จะดำเนินงานด้านการรณรงค์ละ ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดปัจจัยเสี่ยง
2. เป็นแบบอย่างที่ดี และมีการทำงานที่ร่วมกับประชาคมงดเหล้าจังหวัดและภาคประชาชนเป็นที่รับรู้
3. เป็นผู้ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจแอลกอฮอล์และยาสูบ
กระบวนการคัดสรรนายอำเภอ
1.เสนอชื่อนายอำเภอจากคณะทำงานประชาคมงดเหล้าจังหวัด ตาม“คุณสมบัตินายอำเภอนักรณรงค์งดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง”
2. กลั่นกรองโดยคณะทำงานประชาคมงดเหล้าระดับภาคเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้ง
การดำเนินการร่วมกันนายอำเภอกับประชาคมจังหวัด
1.รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ตามแนวทาง ชวน ช่วย เชียร์ เชิดชู โดยเฉพาะเน้นกับผู้นำท้องที่ท้องถิ่น
2.สนับสนุนชุมชนคนสู้เหล้า ชมรมคนหัวใจเพชร ชุมชนแหล่งเรียนรู้ 3.สนับสนุนนโยบายงานประเพณีเทศกาลปลอดเหล้า การปฏิบัติตามกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ หรือกลไกอื่นๆ ในอำเภอ
