ความเป็นมา

เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม เกิดจากการร่วมตัวกันของกลุ่มเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา จากภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ ที่ได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน ญาติโยม ในมิติต่างๆ เช่น ด้านการส่งเสริม สุขภาวะ ลดปัจจัยเสี่ยงด้านทรัพยากร ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา วัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมการเกษตรพอเพียง เป็นต้น โดยใช้หลักพุทธธรรม นำการพัฒนาทุกรูปแบบ จากเดิมต่างแยกกันดำเนินงานในพื้นที่ต้นเอง ในมิติมุมมองความถนัดของพระนักพัฒนา แต่ละรูป ทำให้เกิดปัญหาข้อ ติดขัดมากมายจากการทำงานพัฒนา แต่ในช่วงระยะ เวลา 10 ปีที่ผ่านมา พระสงฆ์นักพัฒนาเกิดการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นเครือข่ายเล็กๆ ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ปัญหาร่วมกันในพื้นที่ภูมิภาคของต้นเอง และเกิดการขยาย พัฒนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้ามพื้นที่เป็นไปในระดับประเทศ จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันโดยยึดโยงความสัมพันธ์กันในเชิงแนวราบ เรียกให้เข้าใจร่วมกันว่า “เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม”เริ่มแรกมีการสลับสับเปลี่ยนกันเป็นประธานเครือข่าย สลับไป ปีละภาค เพื่อร่วมกันออกแบบกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงาน สร้างเสริมแรงพลังในการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมกันแก้ปัญญาอุปสรรค์ที่เกิดจากการทำงาน ร่วมกับภาคีงานพัฒนาในทุกภาคส่วน เช่นพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุนษ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณะสุข และเครือข่ายภาคประชาสังคม ต่างๆ เป็นต้น
ผลงานสำคัญเครือข่าย
เกิดกองบุญสุขภาวะพระสงฆ์ ต้นแบบแรกของเครือข่ายพระสงฆ์

กองบุญสุขภาวะสุขภาวะสังฆะเพื่อสังคม เกิดจากแนวคิดในการช่วยเหลือดูแลกันและกันระหว่างพระสงฆ์ด้วยกันเอง ด้วยพระสงฆ์เป็นผู้ออกจากเรือนแล้ว จะมีใครมาดูแลพระสงฆ์ได้ดีไปกว่าพระสงฆ์ด้วยกันเอง ก็หามีไม่ หลักการในการดำเนินงาน มีการรับสมัครสมาชิกกองบุญในทุกปี สมาชิกต้องเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาที่มีพระสงฆ์ในระดับภาครับรอง หรือจะเป็นฆราวาสญาติโยมก็ได้ แต่จะต้องเป็นคนที่คอยช่วยเหลือดูแลพระสงฆ์อย่างใกล้ชิดมานานจนเป็นที่ประจักษ์ มีการรวบรวมเงิน(ปัจจัย)สมทบเข้ากองบุญทุกๆปี ในรูปของเงินสมทบจากสมาชิก และการทอดกฐินสมทบกองบุญสุขภาวะพระสงฆ์ โดยการเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาค ไปทุกภาค ของทุกๆปี เมื่อสมาชิกเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาทก็จะมีค่านอนโรงพยาบาลให้ เมื่อประสบอุบัติเหตุก็จะดูแลจ่ายคืนค่ารักษาพยาบาลตามจริงหากสมาชิกมรณะภาพหรือเสียชีวิตก็จะมีเงินเยียวยา ดูแลเรื่องการทำศพจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการดูแลพระสงฆ์ที่ทำงานพัฒนาร่วมกัน
เกิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงประเด็น
การขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงประเด็น เป็นการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาจากทั้ง 6 ภาค เพื่อสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ ในรูปแบบประเด็นขับเคลื่อนร่วมกัน ร่วมกับภาคีพัฒนาและภาคส่วนต่างๆ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
- โครงการพอเพียง เคียงธรรม ได้ดำเนินการค้นหาพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เป็นพื้นที่เรียนรู้
ตามหลักบันได 9 ขั้น หรือโคก หนอง นา โมเดล มีวัดเข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ 20 วัด เกิดเป็นพื้นที่ต้นแบบพอเพียง เคียงธรรม
- โครงการสวดมนต์สร้างปัญญา ได้ดำเนินงานใน 6 ภาค เกิดพื้นที่ต้นแบบและชุดความรู้ด้าน
กระบวนการสวดมนต์สร้างปัญญาในพื้นที่
- โครงการเสริมพลังเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาเพื่อสังคมควบคุมปัจจัยเสี่ยง
- โครงการพระธรรมทายาทนักพัฒนา สร้างเสริมสังคมสุขภาวะ ได้ดำเนินงานผ่านกลไกเครือข่าย
พระสงฆ์นักพัฒนาทั้ง 6 ภาค เพื่อค้นหาพระธรรมทายาทที่ผ่านการอบรมจากวัดชลประทานรังสฤษดิ์ ถอดชุดความรู้ ด้านงานพัฒนา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นหลักสูตรพระธรรมทายาทรุ่นใหม่ และอบรมพระธรรมทายาทใช้ระยะ เวลาการอบรม 1 เดือนเต็ม มีพระสงฆ์ที่ผ่านการอบรมตามโครงสร้างหลักสูตร จำนวน 211 รูป สร้างเป็นพระแถวสองที่จะสานต่องานพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านญาติโยม โดยยึดหลักพุทธธรม นำการพัฒนา
- โครงการวัดปลอดการพนัน ด้วยหลักพุทธธรรม มูลเหตุจากรายงานสถานการณ์การพนันใน

สังคมไทย ปี 2562 พบว่า 57% ของคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป หรือประมาณ 30.420 ล้านคนเล่นการพนัน และ พบว่า 42% หรือคิดเป็นจำนวน 22.749 ล้านคน เล่นการพนันสลากกินแบ่งรัฐบาล มีวงเงินหมุนเวียนในตลาด การพนันสลากกินแบ่งรัฐบาล 150,486 ล้านบาท และ 33.3% หรือคิดเป็นจำนวน 17.737 ล้านคนเล่น พนันหวยใต้ดิน วงเงินหมุนเวียนในตลาด 153,158 ล้านบาท จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นว่าวัดหลายแห่งได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับหวย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นโครงการวัดปลอดพนันจึงมุ่งที่จะสร้างวัดต้นแบบบปลอดการพนัน ในพื้นที่เพื่อให้วัดเป็นสถานที่ปลอดอบายมุข อย่างแท้จริง เกิดวัดต้นแบบในทั้ง 6 ภูมิภาค จำนวน 40 วัด ภายใต้กระบวนการ การจัดทำข้อมูลสถานการณ์การพนันในพื้นที่ การสร้างการกลไกการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน สร้างการเรียนรู้ และสร้างมาตรการทางสังคมร่วมกัน เกิดเป็นมติ ข้อตกลง ธรรมนูญตำบล ในพื้นที่
ประเด็นงานที่สำคัญอยู่ระหว่างขับเคลื่อน
โครงการวัดปลอดเหล้า บุหรี่ พนัน สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยหลักพุทธธรรม
ภายใต้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ.2560
- โครงการวัดปลอดเหล้า บุหรี่ พนัน สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยหลักพุทธธรรม

ได้รับการ สนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) ดำเนินงานใน 6 ภูมิภาค เป็นโครงการที่ดำเนินการขยายผลจากโครงการวัดปลอดการพนัน ด้วยหลักพุทธธรรม ซึ่งมีทุนเดิมในการดำเนินงานอยู่ในทั้ง 6 ภูมิภาค ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยมีพื้นที่เป้าหมาย วัด พระสงฆ์และชุมชนต้นแบบ 120 กรณีทั่วประเทศ โดยผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมของพื้นที่ การยกย่องเชิดชูเกียรติ และมาตรการทางสังคม สร้างพื้นที่ต้นแบบ และขยายผลสู่พื้นที่ใกล้เคียง
โครงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะงานบวชสร้างสุข

ได้ดำเนินการผ่านกลไกพระสงฆ์นักพัฒนาและประชาคมงดเหล้า จังหวัดมีพื้นที่นำร่อง 9 จังหวัด ทั่วประเทศ อาศัยเหตุจากกรณีวัดสิงห์ ที่มีกลุ่มวัยรุ่นแห่นาคอยู่ในอาการเมาเข้าไปทำร้ายครู นักเรียนในโรงเรียน และเหตุการทะเลาะวิวาทกันในงานบวชที่มีการนำเสนอทางช่วงทางสื่อสาธารณะต่างๆ ที่ผ่านมา โดยเป้าหมายหลักเพื่อสร้างค่านิยมด้านงานบวชที่เหมาะสม สำหรับสังคมไทย ภายใต้ฐานข้อมูลสถานการณ์งานบวชที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ สร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างมาตรการทางสังคมร่วมกัน เกิดเป็นคุณค่าแท้งานบวช ไม่เปื้อนบาป เป็นต้น
ทำไมต้องเป็น “บวชสร้างสุข”

เดิมเป็นทุกข์แล้วมาบวช กับพระพุทธเจ้า คณะสงฆ์ แอบไปบวช ลาบวช จัดงานเรียบง่าย ความหมายวัตถุประสงค์ และความเชื่อ ชัดเจน เพื่อแสวงความหลุดพ้น ศึกษาปฏิบัติพระธรรม ละเว้นบาปกรรม แทนคุณพ่อแม่ แต่ ณ วันนี้ กระบวนการ วิธีการเข้าสู่การบวชเปลี่ยนไป
กระบวนการทำงานเชิงความคิด ฟื้นคุณค่าแท้ เข้าถึงแก่นแห่งการบวช

