พัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาคมจังหวัดเข้มแข็งเป็นขบวนการต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์หลัก : พัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาคมจังหวัดเข้มแข็งเป็นขบวนการต่อเนื่อง
กลุ่มเป้าหมาย : เครือข่ายงดเหล้า
กลไกขับเคลื่อน : นักวิชาการภาค และ ผู้ประสานงานทุกกลุ่มงาน
กระบวนการ : การจัดการความรู้ 4.0
ผลลัพธ์ | ตัวชี้วัด | กระบวนการจัดการความรู้ |
1.ประชาคมจังหวัดเป็นทีมแห่งการเรียนรู้ [Learning Organization : LO] | 1.1 มีกรอบคิด – เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงของตัวเองและทีมที่ชัดเจน 1.2 มีทีม หรือ คณะทำงาน 1.3 มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน 1.4 มีการประชุมต่อเนื่อง 1.5 มีทักษะCoaching/FA/KM/Team Manager /การสื่อสาร และถักทอภาคีเครือข่าย | 1.Cross function team. กระบวนการจัดการการเรียนรู้ แบบข้ามภาค ข้ามจังหวัด (Cross ไม่ใช่ Coach) โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องความเข้มแข็งการบริหารโครงการและการบริหารเครือข่าย ในระดับปฏิบัติงานของแต่ละส่วนในโครงสร้าง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และศักยภาพในการขับเคลื่อนให้เพิ่มขึ้น 1.1 Cross function team.ระดับภาค 1.2 Cross function team.ระดับจังหวัด 1.3 Cross function team.เชิงประเด็น 1.3.1 ประเด็นเยาวชน 1.3.2 ประเด็นสื่อสาร 2.ถอดบทเรียน Active Learning. เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการปฏิบัติการจริง(Learning by doing.) 3.ถอดบทเรียน Best practice.และลปรร.บทเรียนจังหวัด ขับเคลื่อนผ่านกลไกนโยบายระดับจังหวัด 4.ระบบฐานข้อมูล (data center Support) 1.Online : ฐานข้อมูลเครือข่ายงดเหล้า SDN Thailand 2.Offline : NAS |
2.ประชาคมจังหวัดมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ | 2.1 มีระบบประเมินตนเองเพื่อพัฒนา 2.2 มีการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล | 1.หลักการ : ประเมินตนเอง/ภายใน 2.รูปแบบ : การประเมินเสริมพลัง Empowerment Evaluation 3.กรอบการประเมิน : 5 วัตถุประสงค์ [Objective Based] |
3.ประชาคมมีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และภาคีเครือข่ายอื่นๆเป็นอย่างดี | 3.1 มีการทำงานขับเคลื่อนนโยบาย และเชิงประเด็นร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอก 3.2 มีกลไกความร่วมมือภาคีเครือข่ายมุ่งผลลัพธ์ 3.3 มีการบูรณาการ คน งาน งบประมาณ | 1.เวทีสร้างความร่วมมือระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ วางเป้าหมายและทิศทางร่วมกัน พัฒนาความร่วมมือให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกัน |
ผลการดำเนินงาน
- เกิดการจัดการความรู้ด้านทิศทางและนโยบาย ระยะที่ 1. ติดตั้งแนวคิดการจัดการความรู้ผ่านกิจกรรม KM 4.0 ในเครือข่ายงดเหล้า เกิดกระบวนการเรียนรู้ จัดการความรู้เชิงระบบ เช่น เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีเป้าหมายกำหนด การพัฒนาองค์ความรู้เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล เป็นต้น
- เกิดการจัดการความรู้นักปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแบบถอดบทเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความรู้เป็นต้นทุนหมุนเวียนการทำงานในเครือข่ายงดเหล้า ประเมินเสริมพลัง ติดตามหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานตั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และพัฒนายุทธศาสตร์ปีต่อไป
- เกิดการจัดการความรู้ ระบบฐานข้อมูล พัฒนาคลังความรู้(Knowledge Asset) ในเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และขยายผลเชิงประเด็นยุทธศาสตร์ ขยายผลเชิงพื้นที่ในระดับภูมิภาคได้เอง
- เกิด Impact. ในขบวนเครือข่ายงดเหล้า เกิดการยกระดับการจัดการความรู้แบบสรุปบทเรียนการทำงาน สู่การถอดองค์ความรู้ไปสู่การขับเคลื่อน แนบเนียนอยู่ในวิถี และเกิดความตระหนักรู้ในการใช้การจัดการความรู้เชิงระบบเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงาน3 ระดับ ได้แก่ 1)การพัฒนาแนวคิดการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ 2)การให้ความสำคัญกับการถอดองค์ความรู้เพื่อผลิตสื่อและขยายผล 3)การพัฒนา Big Data Technology. ระบบฐานข้อมูลองค์กร
ปัจจัยสำคัญ
- มีแม่ยก : ผู้บริหารสนับสนุนให้ใช้กระบวนการจัดการความรู้ 4.0
- กลุ่มเป้าหมาย : ตระหนักในการใช้ข้อมูลเป็นฐานในการทำงานขับเคลื่อนสังคม
- กลไก : มีประสบการณ์และประสานความร่วมมือ
- กระบวนการ :ออกแบบการจัดการความรู้เชิงกลยุทธ์ มีเครื่องมือหลากหลายในการขับเคลื่อน
