โดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า

กว่า 16 ปีของการรณรงค์และขับเคลื่อนเชิงนโยบายในงานบุญประเพณีและเทศกาลสำคัญ เพื่อให้เกิดค่านิยมงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ปลอดภัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ อาทิเช่น สังคมไทยได้เรียนรู้ว่าไม่ควรดื่มและขายเหล้าเบียร์ในงานบุญประเพณีและเทศกาลต่างๆ ส่งผลให้มีผู้ดื่มเหล้าเบียร์น้อยลง อุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวอันเนื่องจากดื่มแล้วขับลดน้อยลง การทะเลาะวิวาทในพื้นที่จัดงานลดน้อยลง มีการสืบทอดและส่งต่อประเพณีวัฒนธรรมในเชิงคุณค่าและความหมายมากขึ้น พื้นที่สำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัวในงานประเพณีมีเพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมงานเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีความปลอดภัยมากขึ้น เกิดพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่รูปธรรมการจัดงานปลอดเหล้าเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น งานลอยกระทงสาย จังหวัดตาก งานประเพณีเผาเทียนเล่นไฟจังหวัดสุโขทัย งานช้างและงานกาชาดสุรินทร์ เทศกาลกินปลาทูและของดีเมืองสมุทรสงคราม งานแข่งเรือปลอดเหล้าเบียร์จังหวัดน่าน งานบุญบั้งไฟตะไลล้านปลอดเหล้าบ้านกุดหว้าจังหวัดกาฬสินธุ์ งานเทศกาลอาหารสองทะเลจังหวัดสงขลา งานสงกรานต์ถนนข้าวเหนียวจังหวัดขอนแก่น และ 60 พื้นที่เล่นน้ำตระกูลข้าวปลอดเหล้าปลอดภัย เป็นต้น

แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เกิดพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่รูปธรรมในหลายพื้นที่ แต่ยังมีช่องว่างที่ต้องแก้ไขหลายประการ อาทิเช่น ธุรกิจแอลกอฮอล์ยังไม่ลดละความพยายามในการช่วงชิงพื้นที่คืนยังคงใช้ตราเสมือน(โซดา น้ำดื่ม น้ำแร่) และกิจกรรม CSR เพื่อส่งเสริมการขาย กระบวนการนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นชุมชนยังมีส่วนร่วมไม่มากเท่าที่ควร หน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ ยังขาดการผนึกกำลังร่วม เป็นต้น ดังนั้น
กรอบการดำเนินงานบุญประเพณี เทศกาลปลอดเหล้า ปลอดภัย

ทิศทางการดำเนินการงานในปี 2564 – 2570
1. ปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและทำให้เกิดเป็นรูปธรรมงานบุญประเพณีและเทศกาลปลอดเหล้าต่อเนื่องตลอดทั้งปี
2. ส่งเสริมการจัดเวทีชุมชน-เวทีบันทึกข้อตกลงร่วมการประกาศนโยบายสาธารณะงานบุญประเพณีปลอดเหล้า
3. ส่งเสริมให้ประชาชน หน่วยงานและเจ้าภาพการจัดงานต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม-ธรรมเนียมปฏิบัติ
4. ถอดความรู้บทเรียนการทำงาน 10 ปีที่ผ่านมาเพื่อขยายผลเข้าสู่กลไกในระบบปกติ
5. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดพื้นที่รูปธรรมสู่งานบุญประเพณีปลอดเหล้าที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชุมชนที่ปลอดเหล้าปลอดภัยในยุคโควิด
6. จัดทำ Polls และรวบรวมฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

โครงการการพัฒนากระบวนนโยบายสาธารณะ(MOU จังหวัด)
งานบุญประเพณีเทศกาลปลอดเหล้าระดับจังหวัด
โดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
นโยบายสาธารณะคือสิ่งที่ภาครัฐตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ การประกาศนโยบายมีผลให้หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดร่วมกันขับเคลื่อน และทำให้ประชาชนเห็นความมุ่งมั่นของภาครัฐและปรับตัวด้วยการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ที่ผ่านมาจังหวัดมีการประกาศนโยบายงานบุญประเพณีปลอดเหล้า เช่น งานแข่งเรือปลอดเหล้า งานลอยกระทงปลอดเหล้างานบุญปลอดเหล้า งานศพปลอดเหล้า งานบวชปลอดภัย
การดำเนินการดังกล่าว เป็นความสำเร็จระดับหนึ่งของป้องกันการดื่มเหล้า แต่ “การพัฒนากระบวนนโยบายสาธารณะ งานบุญประเพณีเทศกาลปลอดเหล้าระดับจังหวัด” จะเป็นการยกระดับการดับเนินงานด้วยการประกาศให้ทั้งมีการประกาศให้ทั้งจังหวัดและทุกเทศกาลเป็นงานปลอดเหล้า หรือให้มีการประกาศนโยบาย “จังหวัดปลอดเหล้า” ทั้งนี้เพื่อให้มีการสร้างค่านิยม และธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคมว่าในงานบุญประเพณีและเทศกาลสำคัญจะไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กรอบการดำเนินงาน

ทิศทางการดำเนินการงานในปี 2564 – 2570
1. ยกระดับพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จจากการขับเคลื่อนงานบุญประเพณี เทศกาลปลอดเหล้า ปลอดภัย ให้เป็นพื้นที่ อำเภอ และจังหวัดปลอดเหล้า ด้วยการถอดบทเรียนความสำเร็จ และพัฒนาศักยภาพของภาคี
2. จัดเวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับกระทรวงและหน่วยงานระดับชาติ
3. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันนโยบายระดับ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม
4. จัดเวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับ และ MOU งานบุญประเพณีปลอดเหล้าปลอดภัยห่างไกลโควิด (จังหวัด/อำเภอ/อปท.) และติดตาม รายงานผล และคืนข้อมูล
5. ปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและทำให้เกิดเป็นรูปธรรม 6. ส่งเสริมการประกาศนโยบายสาธารณะ และลงนาม MOU สาธารณะในระดับพื้นที่ อำเภอ และจังหวัดปลอดเหล้า

โดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
- วิเคราะห์สภาพปัญหาของการจัดการท่องเที่ยว
- วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของคนชุมชนท้องถิ่นของแหล่งท่องเที่ยว ความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ของวัฒนธรรมเลือนหายไป
- โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ออกไปทำงานนอกบ้าน การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่น
- ก่อให้เกิดอาชญากรรม ข่มขืน ฆ่า อนาจาร การแต่งตัวที่ล่อแหลม
- การมีค่านิยมผิด ๆ จากการเลียนแบบ นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะเยาวชน ค่านิยมการกินการดื่ม การเสพ เข้ามาพร้อมกับความเสื่อมทรามทางวัฒนธรรม
- เกิดค่านิยมใหม่ นักท่องเที่ยวมีเป้าหมายเพื่อเสพสุขความสนุกสนานรื่นเริง การดื่มที่ทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิม สิ่งที่เหลือไว้ให้ชาวชนก็คือขยะ น้ำเน่าเสีย ชาวเกาะและชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทุกวันนี้เป็นเสมือนสินค้า ถูกขายโดยบริษัททัวร์ เป็นสินค้าที่มีชีวิต
- กระบวนการพัฒนาและดำเนินงานของโครงการ
1.ศึกษาผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากปัญหาอาชญากรรมข่มขืน ฆ่า อนาจารและภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว และประมวลผลข้อมูลเชิงประจักษ์
1. กิจกรรมเก็บข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวกระแสหลัก เช่น ภูเก็ต กระบี่ เกาะสมุย และ เกาะพะงัน
2.ประชุมนำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ท้องถิ่นนั้น
2.พัฒนาองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัย เพื่อประสานความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือร่วมกัน ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย รวมทั้งเป็นการร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชนสมาชิก ภายในเครือข่าย และขยายแนวคิดดังกล่าวสู่แหล่งท่องเที่ยวอื่น
1.1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสมาชิกองค์กรเครือข่าย เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ พัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
2 .พัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกภูมิภาค เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในจังหวัดที่สามารถเชื่อมโยงกันตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และเส้นทางคมนาคมสายหลัก ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน
3. ส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์
3.1) การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทต่าง ๆ การพัฒนาสื่อประเภทต่าง ๆที่สอดคล้องกับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและความต้องการของพื้นที่เครือข่าย
3.2) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศน์ การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ ในการใช้เทคโนโลยีและระบบสาระสนเทศเพื่อการส่งเสริมด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เฟสบุ๊ค เว็ปไซน์ การใช้ระบบคิวอาร์โค๊ต เป็นต้น
4. การพัฒนาเครือขายในระดับภาคและระดับประเทศ
4.1 ) การบูรณาการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง การทำงานเชิงนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับการทำงานเชิงวิชาการกับองค์กรภาคีในทุกระดับผ่านงานวิจัยซึ่งเป็นข้อมูลเชิงวิชาการ
5.การจัดการตนเองของชุมชนแหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยลดปัจจัยเสี่ยง
5.1 ) ส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานความปลอดภัย ในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ อาหาร โฮมเสตย์ เส้นทางคมนาคม ฯลฯโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม
(ร่าง)แหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นชุมชนปลอดภัย ( Safety Community Tourism )
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวปลอดภัย
เป้าหมาย ( Goal ) | แหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นชุมชนปลอดภัย ( Safety Community Tourism ) | ||||||
เดินทางปลอดภัย | อาหารปลอดภัย | ที่พักปลอดภัย | กิจกรรม-สิ่งแวดล้อมปลอดภัย | ||||
การประเมินรับรอง ( คณะทำงาน , ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง ) | |||||||
มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นชุมชนปลอดภัย ( Thailand Safety Community Tourism Standard ) | |||||||
กระบวนการภายใน ( Internal Process) | มาตรฐานความปลอดภัยด้านปัจจัยเสี่ยง ข่มขืน อาชญากรรม – เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – บุหรี่ | มาตรฐานเดินทางปลอดภัย ระบบขนส่งสาธารณะ รถ-เรือ ที่ให้บริการในพื้นที่ | มาตรฐานอาหารปลอดภัย Clean Food Good Test ( กรมอนามัย ) | มาตรฐานที่พักปลอดภัย Safety Community ( WHO ) | มาตรฐานกิจกรรมปลอดภัย เดินป่า / ปินเขา / ดำน้ำ ฯลฯ ล่องแก่ง ฯลฯ | ||
เวทีสังเคราะห์รวบรวมความเห็น / สร้างการมีส่วนร่วม จัดทำมาตรฐานกลาง | |||||||
การสืบค้นแหล่งข้อมูล มาตรฐานสากล / งานวิชาการ ฯลฯ | |||||||
กิจกรรม ( Learning and Growth ) | รณรงค์ /กิจกรรม กฎ กติกา เทศบัญญัติ | สร้าง-ขยายเครือข่าย | พัฒนาศักยภาพ | สื่อสารประชาสัมพันธ์ -สื่อส่วนกลาง / ภูมิภาค | เชื่อมโยงข้อมูล -ท่องเที่ยวและกีฬา /สถานทูต ฯ | ||
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ , ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน | เวทีแกนนำ , หน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง | ||||||
ทุนเดิม ( Budget ) | เฉพาะผู้ที่สนใจและพร้อมที่จะเข้าร่วมดำเนินงานด้วยความเต็มใจ | ||||||
หน่วยงาน ชุมชน ประชาคม | ชมรมฯ | สมาคมฯ | ผู้ประกอบการฯ | หน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯ -เครือข่ายสถาบันเพื่อสังคมฯ -นักวิชาการรับใช้สังคมฯ | |||
หมายเหตุ – ทุกกระบวนการเน้นดำเนินการโดยท้องถิ่นชุมชน รัฐเป็นตัวช่วยหรือหนุนเสริม /
มาตรฐานต้องตอบสนองกับบริบทความเป็นไปได้ระดับพื้นที่
5.2 )ส่งเสริมการจัดทำธรรมนูญชุมชน/กติกาชุมชน จัดเวทีประชาคมชุมชนแหล่งท่องเที่ยว สร้างกติกาชุมชน การผลิตสื่อ/ป้ายประกาศประชาสัมพันธ์ ธรรมนูญชุมชน เพื่อสร้างความปลอดภัยลดปัจจัยเสี่ยง
5.3 ) ส่งเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพในการสื่อสารชุมชน เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการตนเองด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ชุมชนด้วยการพัฒนานักสื่อความหมายของชุมชน ด้วยการพัฒนานักสื่อความหมาย ให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ โดยทีมงานVolunteer English Bangkok แบบการท่องเที่ยวปลอดภัย จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงจิตอาสาในช่วงวันธรรมดา โดยให้อาสาสมัครชาวต่างชาติเข้ามาพักในชุมชน ท่องเที่ยวชุมชน และ สอนเด็กในชุมชนผ่านพื้นที่โรงเรียนจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงจิตอาสาในช่วงวันหยุด โดยให้อาสาสมัครชาวไทย และ ชาวต่างชาติท่องเที่ยวตามพื่นที่ชุมชน และสอนเด็กในชุมชนผ่านกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่มีเนื้อหาเน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงานของโครงการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
