สคล. และ สสส. จัดประชุม Thailand and Sweden Alcohol policy and Alcohol control Law : comparative sharing. ณ ห้องประชุม 415 สสส 27 มกราคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการผลักดันนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมี Mr. Pierre Andersson จาก IOGT-NTO Movement เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่ง Mr. Pierre Andersson เป็นผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาในการผลักดันนโยบายและกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศต่างๆ นอกจากนี้มีภาคีเครือข่ายของ สสส. และ สคล. เข้าร่วมประชุมด้วย
ทั้งนี้ในที่ประชุมได้พูดคุยประเด็นต่างๆ เช่น เป้าหมายของกฎหมายของสวีเดนคือ (1) ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมองว่าการดื่มในมุมมองมหภาค ไม่ใช่เรื่องบุคคล จึงพยายามการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง (2) การจำกัดการค้า กำไรจากร้านค้าและ (3) ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยรัฐบาลเป็นผู้ผูกขายการขายแอลกอฮอล์ด้วย monopoly
รัฐบาลพยาบาลควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ ค.ศ. 1905 โดยเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 3.5 ดีกรีต้องขายที่ร้านของรัฐบาล แ และจำกัดเวลาขาย คือไม่ขายตอนเย็น และไม่ขายวันอาทิตย์ เหตุผลที่จำกัดการขายเพราะว่ามีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ 1879 ของภาคประชาสังคมที่พยายามเรียกร้องให้มีการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะว่าในอดีตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดปัญหาสังคมมาก จึงมีการเรียกร้องเช่น เรียกร้องผ่านสิทธิของแรงงานและ IGGT ซึ่งทำงานด้านการเคลื่อนไหวประเด็นเรื่องสุขภาพ การเรียกร้องนี้ได้ทำภาคประชาสังคมได้ร้องเรียนรู้ระบบประชาธิปไตยและแกนนำในการเรียกร้องได้รับคัดเลือกให้เป็นนักการเมืองท้องถิ่น
นอกจากนี้ในร้านสะดวกของเอกชนก็ถูกจำกัดเรื่องราคา โปรโมชั่น ฯลฯ ปัจจุบันการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพาณิชย์ (เปลี่ยนจากกระทรวงสาธารณะ) ซึ่งเป็นความเสี่ยงว่า ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยมุ่งเน้นประเด็นทางการค้ามากขึ้น
ทั้งนี้พบว่า ประชาชน 76% ให้การสนับสนุนการผูกขาดการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของรัฐบาล เพราะมีผลการศึกษาว่า มาตรการนี้ช่วยปกป้องคนตาย 1,400 คน/ปี ลดอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับได้ 8,000 เคส/ปี และลดการทะเลาะวิวาทได้ 29,000 เคส/ปี
การประสบผลสำเร็จจากการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอออล์ เกิดจาก (1) รัฐบาลผูกขาด (2) การใช้ระบบใบอนุญาติในการขาย (3) จำกัดเวลาขาย (4) เข้มงวดกับการขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีในร้านอาหาร และ 20 ปีในร้านค้า โดยเด็กที่ซื้อไม่มีความผิดแต่ผู้ขายมีความผิด
ในสวีเดนและฟินแลนด์ภาษีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะสูงกว่าประเทศยุโรปอื่นๆ ประมาณ 50% โดย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 700 ml จะเสียภาษีประมาณ 13% ซึ่งทำให้คนสวีเดนและฟินแลนด์บางส่วนนั่งเรือข้ามไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศอื่นโดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน
ด้านการตลาด ประเทศสวีเดนห้ามไม่มีการกโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทีวีและวิทยุ, ในร้านค้า moderate จะห้ามโฆษณาใน ad ของภาพยนตร์ และ billboards, โดยทำได้เฉพาะในสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงสินค้าและบอกว่าผลิตจากอะไร อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมเป็นสมาชิก EU ทำให้มาตรการต่างผ่อนปรนไปมาก แต่ก่อนจะห้ามโฆษณาเด็ดขาด นอกจากนี้มีความท้าทายจาก social media ที่ควบคุมยาก และมักไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงมีการโฆษณาข้ามชาติ และมี influencer ที่เป็นชาวต่างชาติและสื่อต่างชาติ โดยเฉพาะจากอังกฤษและอเมริกา
OECD รายงานว่า การดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงเรียนและสถานประกอบการ ยังน้อยอยู่ซึ่งควรเพิ่มการดำเนินรณรงค์ในสถานที่นี้ อย่างไรก็ตามปัญหาเมาแล้วขับของสวีเดนลดลงทุกปีแต่ก็ยังมีการรณรงค์อย่างเข้มงวด
หลังจากการเข้าเป็นสมาชิก EU ในปี 1995 อัตราการดื่มของประเทศสวีเดนเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเป็นผู้ผลิตที่รัฐบาลผูกขาดไม่สามารถทำได้ ทำได้แต่ควบคุมการขาย อย่างไรก็ตามอัตราการดื่มในประเทศถ้าจากเครื่องดื่มที่ถูกต้องตามกฎหมายจะคงที่ แต่จากเครื่องดื่มที่ผิดกฎหมายในระยะแรกจะสูงโดยสูงที่สุดในปี 2003 จากนั้นจะคอยๆ ลดลง และเหลือน้อยในปัจจุบัน ส่วนในเกิดจากมาตรการด้านศุลกากรที่ควบคุมเข้มงวดมากขึ้น นอกจากนี้มีการสำรวจเป็นรายเดือนถึงสถานการณ์ดื่มในประเทศโดยสำรวจประชากรประมาณ 1,000 คน
ความท้าทายของประเทศสวีเดนคือ (1) การโฆษณาและการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ข้ามชายแดน (2) นักการเมืองบางคนไม่เห็นด้วยรัฐบาลจะผูกขาดการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (3) การทำการตลาดผ่าน social media และ influencers และ (4) การเปลี่ยนนโยบายและเปลี่ยนบุคคล (government offices) ซึ่งข้าราชการรุ่นใหม่จะไม่ค่อยเข้มงวดเท่าไร