งานประเพณีแข่งขันเรือยาว แห่ปราสาทผึ้งออกพรรษา จ.สกลนคร
วันที่ 11-18 ตุลาคม 2567 จังหวัดสกลนคร จัดงานประเพณีแข่งขันเรือยาว และแห่ปราสาทผึ้ง ประจำปี 2567 ณ บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สระพังทอง )สกลนคร และสนามหน้าศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร โดยมีการจัดงานแข่งขันเรือยาวในวันที่ 12-13 ตุลาคม และงานแห่ปราสาทผึ้่ง ในวันที่ 12-18 ตุลาคม
นายโกมุท ทีฆธนานนท์ นายกเทศมนตรีนครสกลนคร หน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดงาน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดสกลนคร มีการดำเนินงานภายใต้แผนสืบสานงานประเพณีที่ดีงามของจังหวัดสกลนคร ในขณะเดียวกันก็มีแผนการป้องกันความเสี่ยงต่าง ไม่ให้เกิดขึ้นในระหว่างการจัดงาน ทั้งเรื่องอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การจมน้ำ รวมถึงการละเมิดกฎหมายต่างๆ ด้วย
ในงานแข่งขันเรือยาว ตั้งแต่เวลา เวลา 10.00 – 17.00.น. นายเทอดศักดิ์ จุลนีย์ สาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร ได้มีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ออกปฏิบัติงาน รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ในงานประเพณีแข่งขันเรือยาว “ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2567 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สระพังทอง) “ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปลอดบุหรี่ ปลอดการพนัน” โดยการติดป้ายประชาสัมพันธ์ รอบบริเวณงาน และประชาสัมพันธ์ผ่านโฆษกประชาสัมพันธ์งานและนักพากษ์เรือยาวตลอดทั้งวัน
หน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ ประกอบไปด้วย ผอ.ปภ.เขต 7 สกลนคร นายอำเภอเมืองสกลนคร/ นายกเทศมนตรีนครสกลนคร/ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร ภาคีเครือข่ายจาก ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองสกลนคร/โรงพยาบาลสกลนคร/สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร/เทศบาลนครสกลนคร/วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร/สาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร/อสม.ชุมชนเมืองเทศบาลนครสกลนคร เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอบน(สคล) และประชาคมงดเหล้าจังหวัดสกลนคร ดำเนินกิจกรรม
- รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวัง ป้องกัน และบังคับใช้กฏหมายตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
- การรณรงค์การป้องกันการจมน้ำ
- การเก็บข้อมูล แบบสอบถามความคิดเห็นฯ สำหรับประชาชนทั่วไป 200 ชุด เยาวชน 100 ชุด เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน 50 ชุด และ ผู้ประกอบการร้านค้า 50 ชุด รวมทั้งมด 50 ชุด รวมทั้งสิ้น 400 ชุด
สกลนคร เป็นเมืองแห่งประเพณีวัฒนธรรม ที่ผสมผสานความเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ และกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับทุกกลุ่มวัยจริงๆ ไม่ว่าจะกิจกรรมช่วงงานแข่งเรือตอนกลางวัน หรือกิจกรรมในพื้นที่งานปราสาทผึ้งตอนกลางคืน เช่น
- บูธตัดผมและทำผมฟรีในสวนฯ ภายในงานแข่งเรือ
- การแสดงดนตรีพื้นเมือง จากสถานศึกษาต่างๆ
- การออกบูธให้ทดลองทำดอกผึ้ง และติดดอกผึ้ง
- กิจกรรมศิลปะ วาดภาพ ระบายสี และเขียนข้อความอธิษฐาน
- บูธแสดงสินค้าและลานอาหารปลอดภัย
- มุมถ่ายรูปประดับไฟสวยงาม ทั่วบริเวณงาน
นอกจากนี้ยังเน้นความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเรื่องของการป้องกันภัยต่างๆ และจุดปฐมพยาบาลเกือบ 4-5 จุด ทั่วบริเวณงาน มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ สินค้า ของดี ความสามารถ ความร่วมมือจากส่วนต่างๆ ทั้ง ชุมชน วัด หน่วยงาน สถานศึกษา ของกลุ่มต่างๆ มารวมกันอยู่ในงานๆเดียวได้ อย่างลงตัว
ภาพ/ข่าว : นาฎชฎา แจ้งพรมมา เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนบน